วันจันทร์ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ปรัชญาการศึกษาจาก 《师说》

ภัทรารัตน์ สุวรรณวัฒนา แปลจาก 《师说》
เอกสารประกอบการเรียน ภาคภาษาจีน ศิลปศาสรต์ ม. ธรรมศาสตร์ พ.ศ. 2549




古之学者必有师。
师者,所以传道受业解惑也。
人非生而知之者,孰能无惑?
惑而不从师,其为惑也,终不解矣。

生乎吾前,其闻道也固先乎吾,
吾从而师之;生乎吾後,其闻道也亦先乎吾,
吾从而师之。

吾师道也,夫庸知其年之先後生於吾乎!
是故无贵无贱无长无少,
道之所存,师之所存也。

“三人行,必有我师焉:择其善而行之,其不善者而改之“ -《论语》

ผู้ศึกษาในโบราณกาล จำต้องมีอาจารย์
อาจารย์คือผู้เผยความรู้ สอนให้รู้จักการงาน และคลี่คลายอวิทยา
มนุษย์มิใช่ผู้รู้โดยกำเนิด ก็ใครเล่าจักปราศจากความสงสัย?
หากสงสัยแต่มิไต่ถามอาจารย์ ที่สุดแล้ว เหตุแห่งความสงสัยก็มิได้รับการคลี่คลาย

                  ผู้ที่เกิดเกิดก่อนข้าพเจ้า ย่อมได้รับการศึกษาก่อนข้าพเจ้า
                  ดังนั้น ข้าพเจ้าจักตามไปศึกษาจากเขา
                  แม้นผู้ที่เกิดหลังข้าพเจ้า หากเขาศึกษาก่อนข้าพเจ้าเแล้ว
                  ข้าพเจ้าก็จักตามไปศึกษาจากเขาเช่นเดียวกัน

สำหรับข้าพเจ้า การศึกษาธรรมวิทยา/เต๋า (道) ทั้งหลาย มิพักต้องกังวลถึงวัยวุฒิซึ่งมากหรือน้อยกว่าข้าพเจ้าเลย!
ดั่งนี้ ย่อมไม่มีคำว่าสูงศักดิ์ฤาต่ำต้อย อาวุโสมากฤาน้อย
ธรรมวิทยาสถิตย์ ณ หนใด อาจารย์ย่อมสถิตย์ ณ หนนั้น

สามคน (หมายถึงมหาชน/ทุกคน มิใช่แค่ "สาม" ตามอักขระ) เดินมา ย่อมมีอาจารย์ข้า
เลือก [เรียนรู้] สิ่งที่ดีของเขาแล้วกระทำตาม
สิ่งที่ไม่ดีของเขา [เราก็เรียนรู้และ]ก็เปลี่ยนเสีย - จาก 《หลุนหยู่ว》

หมายเหตุ :เนื่องจากต้นฉบับเป็นภาษาโบราณ การแปลผ่านการตีความนี้อาจมีความคลาดเคลื่อนได้มาก หากผู้ใดมิเห็นพ้องก็แย้งได้เสมอ ยินดีน้อมรับ ด้วยจิตคารวะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น