สัญญลักษณ์ แห่ง สองในหนึ่ง ของพุทธธิเบต หรือ ยับยุม เป็นภาพการร่วมรักของคู่เทพและเทวี
ซึ่งสามารถพบเห็นได้ในศิลปะศักดิ์สิทธิ์แห่งธิเบต ลามะโควินทร์ กล่าวว่าสัญลักษณ์นี้ ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการร่วมเพศทางกาย ทว่าเป็นเพียงภาพแทนการหลอมรวมของธาตุ (principle) แห่งชายหญิง
(คุณสมบัติ แห่งหญิงอันเป็นนิรันดร์ ดำรงอยู่ใน “มารดาผู้ศักดิ์สิทธิ์”) ดั่งนี้ แทนที่จะถวิลหาการร่วมเพศกับผู้หญิงที่อยู่ในโลกภายนอก เราต้องหาคุณสมบัติแห่งหญิงนั้นภายในตัวเราเอง โดยการหลอมรวมธรรมชาติแห่งชายหญิงในจิตภาวนา ลามะโควินทรเห็นว่า เราต้องยอมรับว่าขั้วตรงข้ามทางเพศเป็นเพียงเหตุบังเอิญในขั้วตรงข้ามแห่ง จัรวาล และต้องผ่านข้ามขั้วตรงข้ามนี้ให้จงได้
เมื่อเราเห็นความสัมพันธ์ของร่างกายกับจิตใจ และปฏิสัมพันธ์ของร่างกายกับจิตวิิญญาณในมุมมองของจักรวาล เราก็จะสามารถก้าวข้าม “ตัวกู” “ของกู” ได้ และยังจะสามารถก้าวข้ามโครงสร้างทั้งหมดอันเป็นที่มาของความรู้สึกในตัวกู ความเห็นต่างๆและการตัดสิน ซึ่งสร้างภาพลวงว่าตัวเราเป็นสิ่งที่แยกออกจากสิ่งอื่น เมื่อนั้นแลเราจะบรรลุพุทธภูมิ
อย่างไร ก็ตาม ชาวพุทธตันตระก็มีการฝึกร่วมประเวณี (maithuna) ในเชิงพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ โดยมีรากฐานทางความคิดเดียวกันกับหลักแห่งธาตุชายและหญิง S.B. Dasgupta ศึกษาข้อถกเถียงเกี่ยวกับชาวพุทธตันตระ เพื่อแก้ต่างให้กับพวกเขาในเรื่องการฝึกที่ไม่เป็นไปตามแบบแผนของสังคม พวกเขาเน้นย้ำว่าทุกสิ่งทุกอย่างขึ้นอยู่กับความบริสุทธ์ของจิต กล่าวคือ การกระทำด้วยปัญญาและกรุณา
เมื่อจิตบริสุทธิ์ เราก็จะบริสุทธิ์
ทว่าพวกเขาก็ยังเตือนด้วยว่า นี่เป็นหนทางยากสำหรับผู้ที่ยังไม่ได้รับการอภิเษก “สิ่งที่ลากคนเขลาผู้ไม่ได้รับการอภิเษก สู่นรกแห่งความหมกมุ่นในโลกีย์ อาจช่วยให้โยคีที่อภิเษกแล้วเข้าถึงการตรัสรู้ได้” ประเด็นที่สำคัญมากคือ โยคีและโยคินีต้องมั่นคงในสิ่งที่ตนอธิฐาน ว่าจะทำกรรมต่างๆด้วยจิตที่มีเมตตาและมีปัญญา นั่นคือ ความรู้และความเข้าใจในธรรมชาติอันว่างเปล่าของปรากฏการณ์ทั้งปวง ดังนั้น จึงมีคำกล่าวว่า;
ประดุจดั่ง ยารักษาโรคบางขนานอันหวานยวนชวนลิ้มรส ความปิติผุดขึ้นจาก ปัญญาและ อุปายะ (ความเมตตา) ซึ่งผสานรวมกัน มันทำลายความทุกข์ ได้อย่างราบรื่นและง่ายดาย อีกครั้ง เชือกซึ่งผูกมัดคนผู้หนึ่ง สามารถปลดปมให้อีกคนอีกผู้หนึ่ง

Herbert Guenther นักวิชาการอีกท่าน กล่าวเช่นเดียวกันว่า สติแห่งพุทธะทั้งหลายซึ่งตระหนักรู้ได้ในตัวเรา
เรียกว่า มหาปิติ เพราะ มันคือความสุขสำราญอันเลอเลิศกว่าความสำราญทั้งปวง หากปราศจาก ปิติ การตรัสรู้ก็มิบังเกิด เพราะการตรัสรู้คือ ปิติในตัวเองเสมือนหนึ่งดวงจันทราทอแสง ในความมืดอันลึกล้น
ดั่งนี้ ชั่วขณะเดียวแห่งมหาปิติอันสูงสุด จึงช่วยบรรเทาทุกข์ทีละน้อย
นี่ไม่ใช่วิธีคิดแบบเฮโดนิส (Hedonism) จริงๆแล้วมันเกือบจะตรงกันข้ามกันเลยทีเดียว เพราะว่าหลักการนี้ต้องอาศัยความมัวินัยอย่างมาก และเพียงการมีวินัยอย่างสม่ำเสมอเท่านั้นที่จะทำให้ผู้ฝึกบรรลุถึงอิสรภาพ ที่แท้ได้ นี่เป็นหลักการเบื้องต้นที่สุด สำหรับการฝึกตันตระทุกอย่าง ดั่งนี้ มันจึงเหมือนกับ โฮมีออพพะธี (homeopathy) กล่าวคือ การฝึกด้วยหลักที่ว่า ความชอบจะช่วยแก้ความชอบ เหตุแห่งโรคสามารถต้านโรคและรักษาโรคได้ หากใช้ในปริมาณที่เหมาะสม
ชาว พุทธวัชรยาน อาจจะกล่าวด้วยว่าการกระทำซึ่งถ่วงมนุษย์ไว้ในโลกแห่งความระทมอันเป็นนิรันดร์ ก็ช่วยปลดปล่อยผู้กระทำนั้นได้ หากเพียงกระทำโดยพลิกมุมมอง ให้ประกอบด้วยปัญญาและอุปายะ เหมือนกับในการรักษาแบบ homeopathic อาการของโรคจะไม่ถูกกดไว้ แต่จะถูกกระตุ้นให้รุนแรงขึ้นชั่วคราว นี่เป็นขั้นตอนสำคัญ ในการขจัดโรคอย่างเด็ดขาด ดังนั้น ความโกรธก็ขจัดความโกรธได้ ตัณหาขจัดตัณหาได้ และพิษอื่นๆก็แก้ได้ด้วยวิธีการอย่างนี้ เมื่อได้รับการแปรให้เป็นปัญญา
อย่างไรก็ตาม นี่เป็นดาบสองคม หนทางนี้อาจนำไปสู่ความสุกสว่างหรือสู่โรคา เราจึงไม่อาจเดินบนเส้นทางนี้ได้โดยปราศจากการนำของอาจารย์ผู้มีเมตตาและมี ปัญญา นี่เป็นเหตุให้คำสอนตันตระและการฝึกเฉพาะถูกเก็บรับษาไว้เป็นความลับมิให้ ผู้ที่ยังไม่ได้รับการอภิเษกล่วงรู้ และจะได้รับการถ่ายทอดอย่างค่อยเป็นค่อยไปในระดับที่ คนคนหนึ่งจะสามารถรับได้เท่านั้น ทั้งนี้ มีเครื่องช่วยผู้ฝึกมากมาย อย่างเข่นการบูชาและพิธีกรรมอันมากหลาย ในกระบวนการปลี่ยนแปลงตนเอง และการเข้าถึงจิตสำนึกในขั้นที่สูงกว่า เครื่องช่วยต่างๆได้รับการประดิษฐ์ขึ้นเพื่อใช้กับการดำรงอยู่ของเราทั้งสาม ส่วนอย่างครอบคลุม ทั้ง กาย วาจา สิ่งเหล่านี้จะกระตุ้นหรือปลุกพลัง ซึ่งซุกซ่อนอยู่อย่างเฉื่อยฉาในจิตไร้สำนึกอันลึกล้ำ
กลวิธีทั้งสามที่พบได้อย่างดาดดื่น คือ การท่องมนตรา (วจนะศักดิ์สิทธิ์) ซึ่งเกี่ยวข้องกับการพูด ; ท่าทางประกอบพิธีกรรม (มุทรา) ซึ่งเกี่ยวกับร่างกาย ; จิตภาวนา (โดยเฉพาะ การเพ่งภาพและการหลอมรวมเป็นหนึ่งกับภาพทวยเทพ) ซึ่งเกี่ยวข้องกับจิต
เนื้อหา ในบทต่อๆไป จะวกกลับมาสู่กลวิธีทั้งสามนี้ โดยจะอภิปรายเกี่ยวกับความหมายและรายละเอียด รวมถึงสัญลักษณ์และบทบาทของมัณฑะลา แต่สำหรับตอนนี้ ก็จะขอกล่าวเพียงว่า จุด มุ่งหมายของตันตระ คือ การแสดงเส้นทางอันจะปลดปล่อยแสงศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งส่องสว่างอย่างเร้นลับและโชติช่วงอยู่ภายในตัวเราทุกคน แม้ว่าแสงนั้นจะถูกหุ้มห่ออย่างซับซ้อนซ่อนเงื่อนในบรรสานโยงใยแห่งจิต (psyche)

แล้วเรื่องราวของสิทธาจารย์นามว่า พภหะ ที่เสพกามอยู่ 12 ปี จะมีนัยอธิบายเป็นประการใด?(หนังสือ "สายธรรมพระพุทธเจ้า"น.122) เหตุใดจึงบรรลุขณะเสพกามอยู่?
ตอบลบ