วันอังคารที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

Western Theravāda Bhikkhunī ordination in the lineage of Ajahn Chah III

Despite political, ideological, and legal forces in Thailand, particularly legal requirements from the Garudharma, the Western Sangha negotiates these issues by two strategies: textual interpretations and the claim of monarchical support.

First, international Buddhist scholars suspect the historicity of the eight Garudhamma. These scholars include Western monastics ordained in the lineage of Ajahn Chah and their networks. I have interviewed Western Bhikkhunīs in these groups and found that they, whole-heartedly, contributed to conducting recherches on the history of Thai Buddhism and Theravāda Bhikkhunī orders. The aim is to negotiate with the Thai Elders Councils, and other administrations in Theravāda countries that reject the Theravāda Bhikkhunī ordination. These Western Bhikkhunī scholars also presented researches at the Hamburg Congress on Buddhist Women in July 2007. In March 2009, they participated in the seminar about Bhikkhunī ordination in Australia in a monastery of Ajahn Brahm's student, Ajahn Sujato.

All of the Western Bhikkhunīs I interviewed strongly believed that the eight Garudhamma were not instituted by the Buddha. This is backed up by their scholarly researches and the textual interpretations. For example on the basis of the Mahaparinibbana Sutta, Therigatha, etc. Many of Western monastics believe that Buddhism enhances human rights and equality. Besides, they also find ways to compromise the legal requirements from the eight Garudharma.

Bhikkhu Bodhi argues, backed up by scholarly researches and textual interpretations, that Bikkhus alone can make the Bhikkhunī ordination valid, “in a necessity”. The real authority to admit candidates to be Bhikkhunīs belongs to the Bhikkhus. This argument is significant because Ajahn Brahm wants to ordain Bhikkhunīs in Australia this way.

Alternatively, Theravāda traditions should allow Mahayana Bhikkhunī to give an ordination in the Dual-Sangha requirement. A number of Thai scholars agree to these alternatives. Still, Mahatherasamakhom does not accept the cross-sects ordination.

In this situation, a Western monastic, JWF38, comments that it is essential to have clear legal points for people “who have given legalistic reasons for not ordaining [Theravāda Bhikkhunīs]”
Both Theravāda Bhikkhunī supporters and opponents refer to their textual interpretations.

Second, Western monastics refer to the Thai monarchical support to negotiate with the Thai Elders Council. A Western monastic, HWF40, argues that the Thai royal family support Theravāda Bhikkhunī ordination. Informant HWF40 adds that the master, KAF52, through the intervention of the Thai Royal Family, overcame obstacles from the Thai Elders Council when she established the Mahayana Bhikkhunī order in Thailand. HWF40 mentions that in May 2007, HWF40 and KAF52, were invited to be a part of the officiation at the royal funeral of Princess Galayani.

The Theravada Bhikkhuni in Thailand, and the first Majayana Bhikkhuni are presented with robes by Tan Phuying Tasanavali, the daughter of the princess Galayani, on May,25, 2007 at the Emerald Buddha temple, in Bangkok, Thailand.
However, the nature of the royal sponsorship for the Bhikkhunī Sangha is suspicious. It is unclear for what reasons the monarchy, who has controlled the Thai Elders Council for many decades through the Sangha Acts, support Bhikkhunīs whom the Thai Elders Council oppose.

Overall, the Western Sangha order negotiates with the Thai cultural and political influences by Vinaya textual interpretations from scholarly researches and the claim to have monarchical supporters. This aim is to initiate a Theravāda Bhikkhunī order in the lineage of Ajahn Chah. There are differences between the original Buddhism, form textual interpretations, and the Thai traditions; the Buddhist organisation that has parallel male and female Sangha versus the absence of the ‘Theravāda’ Bhikkhunī order.

Western Theravāda Bhikkhunī ordination in the lineage of Ajahn Chah II

In Thailand, the first recorded attempt of Bhikkhunī ordination was made in 1928.5 However, there was aggressive opposition from most Thai Buddhists. Importantly, the Sangharaja Shinavorasiriwatna, the supreme patriarch of Mahatherasamakhom at that time invalidated the ordinations and asked Bhikkhunīs to disrobe. He enacted a rule in 1928 which forbade Bhikkhus to ordain women. Later, in 2003, Chatsumarn Kabilsing, similarly to her monastic mother, ordained and claimed to be a Theravāda Bhikkhunī.8 Three months after Miss Kabilsing's novice ordination, the Sangharaja stressed the law of 1928 which prohibits all Bhikkhus to ordain women as Bhikkhunīs. Still, today in Thailand there are approximately 20 existing Bhikkhunīs, not sanctioned by the Mahatherasamakhom as Theravāda.

Bhikkhuni Dhammananda, or Dr.Chatsumarn Kabilsing
The usual argument against Bhikkhunī ordination is that everyone can attain Nirvana regardless of their status. Conservatives also claim, from the Vinaya Cullavagga 10, that the Buddha refused Mahāpajāpatī three times before he agreed to ordain her as the first Bhikkhunī, on condition that she accepted eight Garudhamma – the heavy rules which are criticised by feminists, as they place women in a subordinate position to men. It is also believed that the Buddha predicted that a Bhikkhunī order would shorten the life span of Buddhism. These narratives are used to argue that the Buddha was reluctant to have the Bhikkhunī order.

Opponents of Bhikkhunī ordination are not only Thai Bhikkhus, but also some Mae Chees and lay women. A multitude of Thai women comment about Bhikkhunī ordination; that this can destroy Buddhism. There are increasing numbers of people who ideologically support Theravāda Bhikkhunī ordination, but this support is limited mostly to highly educated scholars.

Legally, the 6th rule in the Eight Garudhamma states that one condition for Bhikkhunī ordination that both members of the Bhikkhunī Sangha and of the Bhikkhus Sangha together – Dual Sangha – enact the ordination. The Mahatherasamakhom, which prides itself on maintaining the authenticity of the Vinaya, believes that such a Bhikkhunī lineage is absent rendering dual ordination impossible. P.A. Payutto, a well-known Thai Bhikkhu scholar, claims that people improperly referred to the constitution and “human rights” to ordain Theravāda Bhikkhunīs : “women always have rights but there are no Theravāda Bhikkhunīs”.

Western Theravāda Bhikkhunī ordination in the lineage of Ajahn Chah I

Ajahn Cha

In the Western Sangha order, in the lineage of Ajhan Chah, there is no Bhikkhunī order since the Western Sangha order is partially controlled by the Thai Elders Councils. Ajahn Sumedho, after he had left Thailand and became an Abbot of Amarāvati, 25 years ago, established Sīladharā, 10 precepts nuns, as an alternative to the Bhikkhunīs. Ajahn Sumedho refrained from establishing a Theravāda Bhikkhunī order in part due to the dissenting voices of his Bhikkhu preceptor – Upajjhāya – and Thai Elders councils in Ubonrachathani, and the Mahatherasamakhom in Bangkok. These councils have never agreed to institute Theravāda Bhikkhunī order. The Mahatherasamakom controls all Western monasteries, limiting powers of ordination to only one or two senior Bhikkhus per continent. These western Bhikkhus are given the official Upajjhāya titles and the ability to issue ordination certificates that are valid in Thailand. This is in contrast to what is stated in the Vinaya Mahāvagga, which permits that any qualified monk who ordained over 10 years can be an Upajjhāya.

Over time, an increasing number of Western women have expressed the desire to be ordained as Theravāda Bhikkhunīs. In March 2009, Ajahn Brahm, who also lived with Ajahn Chah and Ajahn Sumedho in Thailand, wanted to give women a Theravāda Bhikkhunī ordination. This could be the first Theravāda Bhikkhunī ordination in the Ajahn Chah tradition. Ajahn Brahm has high hopes for this since his Upajjhāya is the current acting Sangharaja Somdet Buddhajahn, who has the authority, and might be willing, to approve the ordination in the Western Sangha order outside Thailand.

In March 2009, Ajahn Brahm, who also lived with Ajahn Chah and Ajahn Sumedho in Thailand, wanted to give women a Theravāda Bhikkhunī ordination.
Nevertheless, this has not been done because, as a whole, the Thai Elders Councils are strongly opposed to this issue, and the Western monastics who support Theravāda Bhikkhunī ordination have respect for the position of the Thai Elders Council, as they are seniors.

It is worth investigating the political, ideological, and legal forces in the Thai Elders Councils which prevent Theravāda Bhikkhunī ordination in the West.

ท่วงทำนองแห่งโพธิสัตว์แปลกหน้าจาก《菩萨蛮》




风柔日薄春犹早
สายลมนุ่มละเมียด แสงแดดนวลละไม
ใบไม้ผลิ ยังเยาว์วัย


夹衫乍著心情好。
ผลัดผ้า (ลอกคราบ!!)
จิตวาบ ฉับพลัน
ซ่านสั่น ปิติ

睡起觉微寒
ตื่นรู้ หนาวเหน็บ.

梅花鬓上残。
ดอกพลัม โรยรา
แทรกเส้นผม

故乡何处是?
โลกเดิมเดียงสา
หาที่ไหน?



忘了除非醉,
ลืมไป หาไม่ได้ เว้นแต่
ร่ำไวน์... จนมัวเมา

沈水卧时烧,
กำยาน จุดขึ้น ล้มตัวนอน


香消酒未消。
ถ่านไฟ ระรวย
ไวน์ ระเร่า เร้ารัค

การตกหลุมรักที่ เห็นแก่ "ตัวกู ของกู" ของนางสุชาดาและนางแมรี่

ก่อนนอน
กี่ปีมาแล้วกับภาพฝุ้งฝันนี้...

นางสุชาดาถวายข้าวมธุปายาส
สลับฉาก... นางแมรี่ แมกดาลีน นำผมเช็ดเท้าพระเยซู

 
คืนนี้หลับฝันดีแน่ๆ

--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ความเด่นชัดของสถานการณ์ซึ่งเปลี่ยนไปหลังความฝันเฟื่องของหญิงในห้วงรัก
สำคัญน้อยกว่า สิ่งที่เขากล่าวว่า
มันเป็นแค่ความคับแคบ กระมอมกระแมม หมองแสง…

เปล่าเลย เธอไม่มีอะไรจะพูด เกี่ยวกับเขาหรอก
สิ่งที่เธอถนอมไว้สุดหัวใจ คือ ความจริงเกี่ยวกับตัวเธอเอง
เธอไม่ได้ปรารถนาในตัวเคนซิงเจอร์
(เขาต้องเป็นคู่นอนที่แย่แน่ๆ!)
เธอต้องการขยาย ตัวกู ของเธอ
ดึงมันออกมาจากวงแคบ ให้กลับมาสวยงาม อีกครั้ง
แล้วเปลี่ยนให้เป็นแสงสว่าง

สำหรับเธอ เคนซิงเจอร์ เป็นแค่ฐานรองรับเทพปกรณัม
ม้าติดปีกซึ่งตัวตนของเธอขึ้นขี่เพื่อการบินร่อนครั้งใหญ่ข้ามฟ้า



inspired by Jung's Conception Of "The Collective Unconscious"


“เธอเป็นคนโง่” กูจาร์ดฺสรุปห้วนๆ

Milan Kundera - La Lenteur
แปลโดย อธิชา มัญชุนากร กาบูล็อง

--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------


“ทะลายกำแพง แห่งอำนาจ
เพ่งพิศ ยินยล ความเปล่าเปลือย จากขันธ์ ๕ ของเขา
เพื่อการตระหนักรู้ ‘ที่แท้’ งั้นรึ?”

“หึหึ ชดเชยความพิกลพิการทางกายและจิตของตัว ด้วยการตกหลุมรักพระโพธิสัตว์ (หนุ่มรูปงาม!)
เพื่อจะได้อนุโมทนาในการกระทำอัน “ดีงาม” ของเขา งั้นรึ?
มันช่างเป็นการตกหลุมรักที่เห็นแก ่
“ตัวกู ของกู” ซะเหลือเกิน!”


  เพลงที่เล่น ยามปวดร้าว :)


ภัทรารัตน์ สุวรรณวัฒนา

ธารรางวัล แห่ง ทางแยก : หลี่ชิงเจ้า

ภัทรารัตน์ สุวรรณวัฒนา แปลจาก《点绛唇·寂寞深闺》赏析 ของกวีหญิง 李清照

寂寞深闺,
รังรัก เปลี่ยวดาย กร่อนลึก

柔肠一寸愁千缕。
รวดร้าว กัดกิน
ภายใน เปราะบาง

惜春春去,几点催花雨。
เสียดาย
ฤดูใบไม้ผลิ ลาแล้ว
เวลาเร่งบิน
ดอกไม้โปรยปราย หยาดฝนร่วงพราย
 
倚遍阑干,只是无情绪。
ไร้ที่พักพิง
อ่อนเปลี้ย สิ้นหวัง
เฉยชา




人何处,连天芳草,
ที่รัก อยู่ไหนคะ?
เอื้อมสุดปลายฟ้า อวลกลิ่นยอดหญ้า

望断归来路。
มองถนน
กระวนกระวาย
รอเธอกลับมา...

นิทรรรศการ “บุรุษแห่งราชสถาน : ชายนั้นสำคัญปานราชา

review นิทรรรศการ โดย ภัทรารัตน์ สุวรรณวัฒนา

             “บุรุษแห่งราชสถาน” เป็นนิทรรรศการภาพถ่ายของช่างภาพชาวอเมริกัน นามวาสโว เอกซ์ วาสโซ  ซึ่งมีความพิเศษที่ภาพเหล่านี้ได้รับการแต้มสีหลากเฉดอย่างวิจิตรด้วยเทคนิค โบราณ ด้วยฝีมือราเชศ โสณิ นักระบายสีภาพถ่าย ผู้ซึ่งมีปู่เป็นช่างภาพประจำราชสำนักของมหาราชาโภผล ซิงห์ แห่งเมวาร์

            มองไกลๆ ภาพถ่ายในนิทรรศการล้วนสะท้อนความทรงพลังแห่งบุรุษในโทนขาวดำ ทว่า เมื่อเพ่งพิศชิดใกล้กลับพบความนวลนุ่มรุ่มรวยเฉดสี อบอวลเสน่ห์เย้ายวนแบบราชสถาน ชวนจิตนาการเคลิ้มฝัน กระนั้น ก็ยังท้าทายให้ตั้งคำถามเพราะความซับซ้อนซ่อนนัยยะที่มากกว่ากลิ่นอายแบบ “อาณานิคม” แน่นอน หลายคนอาจวิพากษ์ว่าภาพถ่ายของวาสโวชุดนี้มิต่างจากงานของศิลปินชาวตะวันตก ทั่วไป กล่าวคือ ถ่ายทอด “ความเป็นอินเดีย” อันแปลกไกลโพ้นและชวนฝัน ผ่านการประกอบสร้าง (construct) ด้วยสายตาตะวันตก แต่วาสโวยืนยันว่างานของเขาซับซ้อนกว่านั้น  เพราะถึงแม้เขาจะเป็นคนอเมริกัน แต่ก็ใช้ชีวิตในอินเดียร่วมสิบปี จนมีสตูดิโอถ่ายภาพที่อุทัยปุระ อีกนายแบบหลายคนในภาพชุดนี้ก็เป็นเพื่อนชาวอินเดียของเขาเอง เขายอมรับว่ายังถวิลหาภาพชวนเคลิ้มฝันของบุรุษราชสถาน - “ถ้าผมต้องการอะไรที่ “จริง” ผมคงไปถ่ายภาพคนอินเดียกำลังคุยโทรศัพท์มือถืออยู่บนถนน” - ทว่า สิ่งที่เขาถ่ายทอดออกมาในชั้นที่ลึกลงไป คือ ปัจเจกบุคคลที่มีความต่างในรายละเอียด เป็นต้นว่า ภาพนักปราชญ์วัยกลางคนยืนอ่านโศลกภาษาสันสกฤต แลดูสง่างามและสุขุมคมภีรภาพ  ภาพชายตาบอดสนิทสะท้อนความมืดมิดแห่งโลก ภาพชายฉกรรจ์จ้องกระจกอย่างทระนงในความวังชาและความงามแห่งวัยเยาว์ ดูราวกับหลุดมาจากวรรณกรรม “อติรูป”  ภาพหนุ่มทรัพย์น้อย หากเชิดหน้าแกมยโส ฯลฯ เหล่านี้ล้วนเป็นรายละเอียดอันแตกต่างของปัจเจกบุคคลที่วาสโวเก็บไว้ใน ภาพถ่ายได้อย่างถี่ถ้วน

            แต่จะต่างอย่างไร ทุกภาพก็ล้วนเปล่งความภูมิใจในความเป็น “บุรุษ” แห่งสถานที่ที่ชายนั้นมีความสำคัญปานราชา…


A photo by Waswo X. Waswo, exhibited at Serindia Gallery

วันจันทร์ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

พุทธคัมภีร์ : ตระกร้าสามใบ สามภาษา

ภัทรารัตน์ สุวรรณวัฒนา แปลและเรียบเรียง โดยอิงเนื้อหาหลักจาก The Eternal Legacy – An Introduction to the Canonical Literature of Buddhism, Chapter 17 : Collected Editions

พุทธคัมภีร์ สถิตย์ไว้ซึ่งจิตวิญญาณอันทรงพลังแห่งพุทธศาสนา และด้วยธรรมชาติที่ไม่ผูกขาดการถ่ายทอด “พุทธวัจนะ” ไว้กับภาษาใด คำสอนในพระพุทธศาสนาจึงรุ่มรวยหลากรส ตอบโจทย์ความแตกต่างแห่งสรรพชีวิตผู้รับธรรม  หากไม่นับความสูญหายหลายศตวรรษแห่งการถ่ายทอดพระธรรมคำสอน และหากไม่นับคัมภีร์อันเป็นเอกเทศซึ่งถูกพบในเนปาลหรือที่ถูกกู้คืนในเอเชีย กลาง สิ่งซึ่งตกทอดถึงเราก็คือชุมนุมคัมภีร์อันเลอเลิศ สามแบบฉบับ กล่าวคือ;

๑) พระไตรปิฏกซึ่งรจนาด้วยภาษาบาลี
๒) ซานชาง (三仓 - San Tsang) ในภาษาจีน
๓) กันจูร์ (བཀའ་འགྱུར། - Kngyur) ในภาษาธิเบต


พระไตรปิฏกฉบับบาลีนั้นถือว่าเก่าแก่ที่สุดในฐานะชุมนุมคัมภีร์ ทั้งยังถือเป็นตัวแทนพุทธธรรมคำสอนตามตำหรับพระเวทยุคกลาง ซึ่งได้รับการรักษาและเติมแต่งโดยสำนักหินยานยุคต้นๆและได้รับการถ่ายทอดปาก ต่อปากจากอินเดียสู่ศรีลังกา อันเป็นดินแดนเบื้องปลายแห่งการจดจารพุทธธรรมลงเป็นอักขระ  พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีมีลักษณะเหมือนคัมภีร์ฉบับเทียบเคียงในภาษาสันสกฤต กล่าวคือเป็น ‘ตระกร้าทั้งสาม’ ซึ่งกอปรด้วย ๑) พระวินัยหรือกฏของสงฆ์ ๒) พระสุตตันตหรือบทสนทนา และ ๓) พระอภิธรรมหรือ ‘คำสอนเสริม’ โดย ‘ตระกร้า’ ทั้งสามหมวดนี้ได้รับความเชื่อถือทั้งในศรีลังกาและในเมืองพุทธแถบเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้อย่างพม่า ไทย กัมพูชา และลาว เพราะเมืองพุทธแถบนี้มีความเชื่อกันตามประเพณีว่า พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีเท่านั้นที่สมบูรณ์และน่าวางใจ เนื่องด้วยเป็นฉบับที่พระสงฆ์เล่าท่องสืบต่อกันมานับแต่ครั้งพระเจ้าอโศก แห่งจักรวรรดิโมริยะตราบจนปัจจุบัน

พระไตรปิฏฉบับภาษาจีนหรือซานชาง (三仓) ซึ่งแปลตรงตัวว่า ‘คลังทั้งสาม’ นั้นเป็นแต่เพียงการรวบรวมบทแปล แต่หาใช่่คัมภีร์ต้นฉบับไม่  หลักใหญ่ใจความของพระพุทธศาสนาแทรกซึมสู่จีนผ่านเส้นทางสายไหมตั้งแต่ช่วง ศตวรรษที่ ๑ อันเป็นเวลาที่พระสูตรสี่สิบสองบทถือกำเนิดขึ้น พระสูตรเหล่านี้ได้รับการส่งทอดไปอีกกว่าสิบสองศตวรรษ ในช่วงที่นักวิชาการจีนและอินเดียนับร้อยพากันแปลคัมภีร์จากภาษาสันสกฤต บาลี ธิเบตและจากแหล่งอื่นๆ ดั่งนี้ ผลงานการแปลนับพันจึงผลิบาน โดยอินเดียยอมเรียกขานว่าเป็นศาสนคัมภีร์ ภายหลัง ระหว่างคริสตศักราช ๕๑๘ ถึง ๑๗๓๗ พุทธคัมภีร์ต่างๆทั้งฉบับลายมือและฉบับพิมพ์ออกสู่สายตามหาชนผ่านพระบัญชา ของบรรดาจักรพรรดิผู้เรืองอำนาจ ทั้งนี้ จักรพรรดิผู้ก่อตั้งราชวงศ์ถัง (唐代) ทรงมีพระบัญชาให้เผยโฉมพุทธคัมภีร์ฉบับพิมพ์เป็นครั้งแรก ในคริสตศักราช ๙๗๑

ถ่ายถอดความถวิลหา ด้วยว่ามีแรงบันดาลใจ


รัตติกาล

โอ้ ชายผู้เป็นที่รักแห่งวันวาน ผู้เคยมีฉันเป็นอุดมคติอันเลิศเลอ
ความปรารถนาที่จะรู้จักเธออีกครั้งอาจเป็นความเห็นแก่ตัวอย่างหนึ่ง
ทว่า มันก็อาจเป็นความเห็นแก่ตัวในอีกรูปแบบเช่นกัน หากฉันปฏิเสธที่จะพบเธออีก เพียงเพราะมิปรารถนาให้เธอเห็นความเปลี่ยนแปลงแห่งรูป ซึ่งจะยังให้เกิดการแปลงนามหรือมโนคติแห่งความสัมพันธ์ของเราสอง

บัดนี้ ฉันหวนมาแล้ว

โอ้ ยอดรัก กอดฉันเถิด…  ด้วยประกายแห่งดวงจันทร์อันหวานรัญจวน
ให้ความถวิลหาโถมถาในเรือนร่างแห่งกันและกัน ดั่งที่มันลูบไล้วิญญาณดวงนั้นในคืนมืดอนธกาล
โอ้ ยอดรัก มองตาฉันเถิด ด้วยดวงตาอันเร้นลับเปี่ยมมนต์สะกดของเธอ
โอ้ ยอดรัก แนบหน้าฉันเถิด ด้วยดวงหน้าคมเข้มของเธอซึ่งทรงพลังดั่งจันทรคราสอันเย้ายวน
โอ้ ยอดรัก ศิลปะวิจิตรเลอเลิศใดใดก็มิอาจเทียบกับศิลปะจากดวงวิญญาณเธอ
เพราะทุกอย่างเกี่ยวกับเธอนั้นช่างชวนให้โหยหาและตราตรึง


อีรอสเป็นพยาน ศิลปะแห่งค่ำคืนนี้คือกอดฉันให้เนิ่นนาน ประหนึ่งรัตติกาลนี้เป็นนิรันดร์เถิด
---------------------------------------------------------------

จงเพ้อฝัน ในรัตติกาลแห่งฤดูฝนเสียก่อนเถิด ครั้นรุ่งสาง เงื้อมมือไร้ปรานีแห่งอดีตกาลเหล่านั้นจะรุมฉุดดวงวิญญาณเจ้าออกจากเรือน รังอันสงบ - มารร้ายนั้นผิวเผินอาจดูดี อาจพร่ำเพ้อถึงความทรงจำอันเดียงสา อาจกล่าวว่าเจ้าน่าเชยชิดพิสมัยเพียงไร ขณะที่นิ้วโชกไปด้วยเลือดของเจ้า บอกข้าเถิด นี่คือความการุณย์หรือไร? - แปลงจาก "มวลดอกไม้"


---------------------------------------------------------------

ทิวากาล

ใช่ แล้ว ฉันเพิ่งตระหนักว่าฉันไม่อาจยอมรับทุกสิ่งที่ผันผ่านด้วยความอาจหาญได้เสมอ ไปและเมื่อตรวจสอบใคร่ครวญ ฉันก็พบว่าชีวิตอาจไม่ได้ถูกต้องทุกกรณี อย่างที่รษกล่าวไว้

ฉันมิได้เสียดายรัตติกาลก่อน พร้อมบทกวีแปดหมื่นสี่พันบทนั้นหรอก

ฉัน เสียดายภาพฝันในวัยเยาว์ที่เธอและฉันต่างใส่เครื่องแบบสีขาวและมีความสุขจาก สนทนากันและเดินไปส่งกันและกันทุกเมื่อเชื่อวันเพียงเท่านั้น

ฉันเห็นแก่ตัวและไม่ตระหนักในสััจธรรมอีกแล้ว จึงปรารถนาจะก้าวลงแม่น้ำสายเดิมถึงสองครั้ง


เฮราคลิตัสเป็นพยาน ฉันไม่ได้ลืมปรัชญาของท่านเลย...




©ภัทรารัตน์ สุวรรณวัฒนา
แต่งจากแรงบันดาลใจแห่งดวงดาวซึ่งโคจรในราศีมีน พฤษภ กรกฎ


“สายธรรมพระพุทธเจ้า” (Introducing Buddha)

มติชนสุดสัปดาห์ คัมภีร์พุทธธรรมสมัยใหม่ : ไม่มีอะไรที่ไม่ใช่ธรรม
เอื้อ อัญชลี เขียน


หนังสือเรื่อง “ สายธรรมพระพุทธเจ้า”  (Introducing Buddha)  เขียนโดยเจน โฮป  แปลโดย ภัทรารัตน์  สุวรรณวัฒนา  เป็นการสำรวจเส้นทางพุทธธรรม  จากพุทธกาลถึงโลกสมัยใหม่  ด้วยสายตาและท่าทีที่สนุกสนามคมคาย  ผสมผสานระหว่างสื่อทั้งภาพและถ้อยคำ  ทำให้รู้สึกว่าพุทธศาสนาเป็นเรื่องที่เปิดกว้าง  สามารถมีความเต็มอิ่มต่อวิถีชีวิตและตื่นรู้ด้วยหนทางที่ไม่จำกัด  เห็นความต่อเนื่องและแปลความหมายที่ก้าวหน้าขึ้นมาก  จากปรากฏการณ์ในการเข้าสู่สังคมตะวันตกของพุทธศาสนา  กระทั่งพลิ้วไหวระบัดใบแห่งความศรัทธาไปด้วยท่วงทำนองที่ทรงพลังในหลากหลาย รูปลักษณ์  โดยเฉพาะวัชรยานที่เหมือนจะเหมาะสมสำหรับสภาพแวดล้อมของชาวตะวันตก

อย่าง พุทธประวัติของพระพุทธเจ้า  สำหรับเถรวาทเป็นประมุขสูงสุดของคณะสงฆ์  สำหรับมหายาน  พระพุทธเจ้าเป็นพระโพธิสัตว์ผู้เปี่ยมด้วยความเมตตาต่อสรรพสัตว์  และสำหรับวัชรยานพระพุทธเจ้าเป็นบุคคลที่เข้าถึงธรรม  ซึ่งหมายถึงความเป็นพุทธะ  หรือความตื่นรู้ที่มีอยู่ในตัวของทุกคน

พุทธ ธรรมสายวัชรยานหรือตันตระ  ได้รับการยอมรับในสังคมตะวันตก  ซึ่งมีรากฐานของการรองรับสิทธิเสรีภาพของปัจเจกชน  การเข้าถึงธรรมที่รู้แจ้งได้ในทุกสภาพของบุคคล  ไม่ว่าจะเป็นนักวิชาการ  พ่อค้า  แม่บ้าน  คนจรหมอนหมิ่น  หรือใครก็ตาม  ล้วนมีสิทธิที่จะเข้าถึงธรรมได้โดยไม่ต้องปฏิเสธตัวตนที่เป็นอยู่  คือการยอมรับธรรมชาติความเป็นจริงตามที่ตัวเองเป็นด้วยความอ่อนโยนต่อ พลังงานด้านต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น  ไม่ว่าจะดีหรือร้าย  และใช้ความเมตตานั้นแปรเปลี่ยนพลังงานไปในทางสร้างสรรค์

เมื่อ ผู้เขียนหนังสือเล่มนี้เป็นชาวพุทธวัชรยาน  ดังนั้น  การนำเสนอพุทธประวัติจึงมุ่งตรงไปที่คำสอนของพระพุทธเจ้า  ซึ่งให้หันหาความรู้แจ้งจากภายในจิตใจของตน

“การศึกษาบนพุทธวิธี  คือ  ความรู้แจ้งในสรรพสิ่ง
การศึกษาตนเอง  คือ  การก้าวข้ามจากการยึดถือในตนเอง
การก้าวข้ามตนเอง  คือ  ความรู้แจ้งในสรรพสิ่ง
ความรู้แจ้งในสรรพสิ่ง  คือ  การศิโรราบกายและจิตของเรา”


การเข้าถึงกายและจิตของตัวเอง  จะหมายถึงการเข้าถึงความต้องการที่แท้จริงของตัวเองเพื่อค้นพบว่าสิ่งนั้นนำไปสู่ความต้องการที่แท้จริงของตัวเอง  เพื่อค้นพบว่าสิ่งนั้นนำไปสู่ความคลี่คลายอย่างใดอย่างหนึ่ง มันอาจเหมาะกับสภาพสังคมที่อนุญาตให้กระทำตามความพึงพอใจ  แล้วใช้ความพึงพอใจนั้นคลี่คลายตัวเองไปสู่ความสงบใจ

อย่างไรก็ดี  มีผู้เข้าใจพุทธตันตระผิดบ่อย ๆ ว่าหมายถึงการทำอะไรก็ได้ที่อยากทำ  ตัวอย่างเช่น  ศิษย์ตันตระผู้หนึ่งชื่อรุทร  อาจารย์บอกว่าให้ค้นหาธรรมจากทุกประสบการณ์ที่ได้พบ  รุทรจึงออกไปตั้งซ่องโจร ปล้น ฆ่า และประพฤติชั่วทุกอย่าง เมื่อกลับไปหาอาจารย์อีกครั้ง  อาจารย์บอกว่าสิ่งที่เขาทำไปนั้นเป็นความผิด  รุทรจึงฆ่าอาจารย์ตาย แท้จริงแล้วเป็นสิ่งที่รุทรไม่ต้องการทำสักนิด  เขาเพียงแต่ตกเป็นทาสของประสบการณ์  เพราะตามสัจธรรมของพุทธศาสนาไม่ว่าสายไหน  คือการแสวงหาหนทางที่อยู่เหนือความทุกข์

อยู่เหนือทุกข์โดยการหักห้ามของหินยาน  อยู่เหนือทุกข์ด้วยการให้ของมหายาน  หรืออยู่เหนือทุกข์โดยการยอมรับอย่างเป็นมิตรของวัชรยาน

“สายธรรมของพระพุทธเจ้า”  เริ่มต้นด้วยพุทธประวัติและธรรมที่พระองค์ได้ตรัสรู้  ซึ่งใจความหลักก็คือ  พระพุทธเจ้าทรงเป็นเจ้าชายที่ถูกกักขังอยู่ในพระราชวังแห่งความสุขล้น  กระทั่งถูกกระตุ้นเร้าด้วยสัจธรรมของชีวิต  ผ่านการศึกษาใคร่ครวญหลากหลายวิธีการ  ตั้งแต่การำบำเพ็ญตบะแบบโยคี  จนเข้าใกล้ความตายถึงได้กระจ่างว่ามิใช่หนทางแห่งความรู้แจ้ง  พระองค์จึงหันไปสร้างกำลังวังชา  และเข้าสู่กระบวนการภาวนาอย่างลึกซึ้ง  กระทั่งทรงเข้าถึงอิสรภาพทางจิตใจ  ความรู้แจ้งรินไหลผ่านเข้ามาเป็นหลักธรรมแห่งอริยสัจ 4 ซึ่งคลอบคลุมชีวิตไว้ภายใต้กฎของความจริงแห่งทุกข์  เหตุแห่งทุกข์  ความดับทุกข์  และวิถีของการอยู่เหนือทุกข์  ด้วยการเจริญภาวนา

การ เจริญภาวนาจึงกลายเป็นหนทางแห่งความรู้แจ้ง  ซึ่งได้ดำเนินมาด้วยการถ่ายทอดปากต่อปาก  และความศรัทธาเชื่อถือก็ก่อรูปลักษณ์ผ่านองค์กรสงฆ์  ซึ่งได้บัญญัติกฎระเบียบต่าง ๆ  ขึ้นมา  จากนั้นการรู้แจ้งด้วยตนเองก็แยกจากความศรัทธาในศาสนา  และยังแตกไปในรูปแบบอื่น ๆ ทั้งหินยาน  มหายาน  และวัชรยาน

เรียกธารธรรมเหล่านี้ว่า  “ไตรยาน”  อันประกอบด้วย

ยานแรก  “หินยาน”  แปลว่า  ยานลำเล็ก  ซึ่งคับแคบ  เพราะถือวินัยอย่างเคร่งครัด  แต่ในทางจิตภาวนานั้นเป็นการชะลอความสับสนของจิต
ยานที่สอง  “มหายาน”  เป็นยานลำใหญ่  ขับเคลื่อนความสันติในใจไปพร้อม ๆ กันกับคนหมู่มาก  ผ่านผู้ซึ่งได้อุทิศตนเป็นพระโพธิสัตว์
และยานที่สาม  “วัชรยาน”  เป็นยานที่ไม่อาจทำลายได้  เพราะความรู้แจ้งนั้นอยู่ภายในธรรมชาติของมนุษย์ พุทธศาสนาแบบดั้งเดิมหรือหินยาน  แพร่หลายจากอินเดียไปในศตวรรษที่ 3  สมัยของพระเจ้าอโศกมหาราชผู้ซึ่งระทมทุกข์จากการก่อสงคราม

ศตวรรษที่ 9 ท่ามกลางความภักดีต่อเทพเจ้าที่หลากหลายของศาสนาฮินดู  ศาสนาพุทธเริ่มออกไปเบ่งบานยังดินแดนอื่น  ทั้งทิเบต  จีน เกาหลี  และญี่ปุ่น  ด้วยรูปลักษณ์ของมหายาน  หรือวิถีแห่งไมตรี

“มหายานเน้นวิถีแห่งไมตรี  หรือการเจริญเมตตาต่อตนเอง  กล่าวคือ  เราต้องเป็นมิตรที่ดีของตนด้วยการเป็นมิตรต่อด้านลบต่าง ๆ ของตน”

“พวก เราแข็งกร้าวเมื่อปฏิเสธบาดแผลภายใน  และต่อว่าผู้อื่นว่าเป็นเหตุแห่งความเจ็บปวดของเรา  หากเมื่อเรายอมรับความเจ็บปวดอย่างเมตตา  เราจะพบว่า  แท้จริงแล้ว  เราอ่อนโยนและบอบบาง”

มหายานมีชื่อเสียงในนามว่า  “เซน”  ซึ่งอิงอยู่กับกับวิธีคิดแบบโลกตะวันออก

น่าสนใจว่าวัชรยานนั้นกลับสอดคล้องยิ่งนักกับสภาพของสังคมตะวันตก กำเนิดของวัชรยานยังประเทศทิเบต  มีศาสนาพื้นถิ่นคือ  “เพิน”  ซึ่งเป็นการบูชาเทพเจ้าต่าง ๆ เช่น  เทพซา  ซึ่งเป็นเทพแห่งพลังจิต  เทพแห่งแสงสว่าง  และลูกเห็บ  เทพเจ้าเหล่านี้เชื่อมโยงระหว่างผืนแผ่นดินกับชาวนา  ครั้นเมื่อศาสนาพุทธเข้ามาก็ไม่ได้มองเห็นอื่นใด  นอกเหนือจากเรื่องพืชพรรณผลผลิต พระศานติรักษิต  เป็นธรรมาจารย์จากอินเดียคนแรกที่มาสู่ทิเบตพร้อมกับภัยธรรมชาติ  ความเป็นพระภิกษุในขนบดั้งเดิมของหินยานและมหายานทำให้ศาสนาพุทธได้รับการ หมางเมิน

กระทั่งการมาถึงของธรรมาจารย์องค์ที่สอง คือพระปัทมสัมภวะซึ่งสำเร็จเป็นสิทธะแห่งตันตระหรือผู้ฝึกวัชรยาน วัชรยานโน้นนำหนทางของการเข้าถึงความรู้แจ้งด้วยประสบการณ์ทุกรูปแบบ  รวมถึงพลังงานทุก ๆ ด้านของมนุษย์ที่ไม่ต้องเก็บกดทำลาย  เพียงแต่รู้จักนำมาแปลงรูปเพื่อกระตุ้นความตื่นรู้จากภายใน
ดังนั้น  ไม่ว่าจะเป็นใครหรืออยู่ในสายอาชีพอะไร  ล้วนสามารถบรรลุศักยภาพด้วยพลังตันตระ

ยกตัวอย่างพระปัทมสัมภวะ  ซึ่งใช้พลังของตันตระที่ไม่ปฏิเสธผู้ต่อต้านศาสนาพุทธที่เรียกว่าปีศาจ  หากเปลี่ยนแปลงพลังของปีศาจเหล่านั้นให้มาเป็นผู้พิทักษ์ศาสนาพุทธแทน  การไม่ทำลายหรือขจัดพลังงานของปีศาจ  ก็คือการแปรเปลี่ยนในความหมายของตันตระ หรือบ้างก็เรียกว่า เป็นการใช้  “ปัญญาบ้า”  หรือพลังงานดิบเหล่านั้นเป็นเครื่องทะลวงพ้นมายา  ทุกคนจึงบรรลุตันตระได้ด้วยวิถีทางของตน  เช่น  เด็กเกเรบรรลุสัจธรรมได้ด้วยการเข้าถึงความเกเร  ไม่ใช่การปฏิเสธความเกเร  หรือเก็บกดพลังงานของความเกเรนั้นไว้ อาจพูดว่าทุกคนย่อม มีสภาพที่เหมาะสมสำหรับตัวเองในการบรรลุธรรม  ไม่ว่าจะเป็นโสเภณี  นักพนัน  กษัตริย์  หรือเจ้าชาย  มีความเสมอภาคในวิถีแห่งการรู้แจ้งได้โดยไม่ต้องเปลี่ยนรูปแบบภายนอก  หากเปลี่ยนที่ภายในจิตใจ

หนทางแห่งวัชรยานย่อมเต็มไปด้วย พลังงานที่ยากควบคุมได้เอง  หากปราศจากอาจารย์ผู้ชี้แนะคงเป็นความเจ็บปวดจนแตกสลายไปเสียก่อน  อาจารย์และศิษย์จึงเป็นความสัมพันธ์อันศักดิ์สิทธิ์ของการฝึกตันตระหรือวัชร ยาน ยกตัวอย่าง มิลาเรปะ ศิษย์ของท่านมารปะ  ซึ่งได้สอนตันตระด้วยการทำลายความคาดหวังของศิษย์  โดยสั่งให้สร้างและรื้อสิ่งก่อสร้างอยู่หลายครั้ง  จนมิลาเรปะเกิดความท้อแท้สิ้นหวัง เมื่อสิ้นหวังและสิ้นความคาดหวังแล้วนั่นเอง  จึงเข้าถึงสภาวะที่ไร้อัตตาความยึดมั่นถือมั่น  ซึ่งเท่ากับบรรลุธรรมโดยไม่รู้ตัว

วิถีตันตระจึงเต็มไปด้วยความรัก  แต่ก็เย็นชายิ่งนัก

ศาสนาพุทธสายวัชรยานเดินทางไปยังประเทศตะวันตก  ด้วยสถานะของผู้ลี้ภัยทางการเมือง ทว่า ผู้ซึ่งเข้าถึงวิถีแห่งตันตระย่อมไม่ยึดมั่น หากยังเปิดรับประสบการณ์ในดินแดนใหม่ และเพราะคนตะวันตกยังไม่ถูกปรุงแต่งด้วยประเพณี  จึงมีจิตใจที่เปิดรับพุทธธรรมด้วยความสดใหม่ สถานการณ์ของศาสนาพุทธในโลกตะวันตกจึงเบ่งบานด้วยท่าทีที่มีแก่นสารอันคมคายเสียมากกว่าการยึดติดรูปแบบของธรรมเนียมความนับถือ ในสังคมตะวันตก  พุทธศาสนาจึงเป็นเรื่องของฆราวาสเสียมากกว่าจะเป็นเรื่องของพระภิกษุสงฆ์  ทว่า  ด้านหนึ่งก็หลงทาง  เช่น  การนับถือศาสนาพุทธที่เฟื่องฟูขึ้นมาพร้อมกับวิถีของฮิปปี้ในปลายยุค 60  ซึ่งไม่ได้มีแก่นสารอย่างแท้จริง

ท่านพุทธทาสได้เคยกล่าวถึง ฮิปปี้ในมุมมองของพุทธศาสนาว่า  ฮิปปี้เพียงแต่เกิดความกดดันทางศีลธรรม  แล้วปลดปล่อยออกมาในรูปแบบของการหลอกตัวเองว่าเป็นความมีอิสระ  หากไม่ใช่วิถีของพุทธบริษัท

สายธรรมของพระพุทธเจ้าที่อยู่ตรงหน้าเรา  หมายถึงการรู้จักตัวเองให้ถ่องแท้



พญานาค ในพระพุทธศาสนาไทย จากสยามถึงประเทศไทยในปัจจุบัน

บทที่หนึ่ง : ที่ทางของพญานาคในอดีตกาล

แปลและปรับเปลี่ยนจาก The place of the Naga in Thai Buddhism, from pre-modern Siam
to modernised Thailand, Section One : The place of the Naga in the past
เขียน (พ.ศ. ๒๕๕๑) แปลและปรับเปลี่ยนบทความ โดย ภัทรารัตน์ สุวรรณวัฒนา

*หมายเหตุ เก็บข้อมูลจากหนังสือและจากการศึกษาสิ่งต่างๆในงานบุญบั้งไฟพญานาค ที่จังหวัดหนองคาย ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๔๖

PDF file available at http://www.openbase.in.th/node/13664


The analysis of tensions in Western monasteries linked to the Thai forest tradition in the lineage of Ajahn Chah : the separation between the ‘original’ Buddhism and ‘Thai’ monastic traditions

Abstract

This short paper is a part of an MA dissertation, The analysis of tensions in Western monasteries linked to the Thai forest tradition in the lineage of Ajahn Chah : the separation between the ‘original’ Buddhism and the ‘Thai’ monastic traditions. The paper was published in an academic journal of the Buddhist Research Institute, Mahachulalongkornrajavidyalaya University, Ayutthaya, Thailand, and was presented at the 2nd International Buddhist Research Seminar at Mahachulalongkornrajavidyalaya University, on Saturday 9th January 2010.

By Pattrarat Suwanwatthana (ภัทรารัตน์ สุวรรณวัฒนา), MA Study of Religions 2008, The School of Oriental and African Studies, University of London.

*หมายเหตุ : ตีพิมพ์บางส่วนของบทความ ในวารสารทางการศึกษาของ The International Association of Buddhist Universities - IABU ซึ่งแจกในาน The 2nd International Buddhist Research Seminar, 8-10 Jan 2010

PDF file available at http://www.openbase.in.th/node/13488

ปรัชญาการศึกษาจาก 《师说》

ภัทรารัตน์ สุวรรณวัฒนา แปลจาก 《师说》
เอกสารประกอบการเรียน ภาคภาษาจีน ศิลปศาสรต์ ม. ธรรมศาสตร์ พ.ศ. 2549




古之学者必有师。
师者,所以传道受业解惑也。
人非生而知之者,孰能无惑?
惑而不从师,其为惑也,终不解矣。

生乎吾前,其闻道也固先乎吾,
吾从而师之;生乎吾後,其闻道也亦先乎吾,
吾从而师之。

吾师道也,夫庸知其年之先後生於吾乎!
是故无贵无贱无长无少,
道之所存,师之所存也。

“三人行,必有我师焉:择其善而行之,其不善者而改之“ -《论语》

ผู้ศึกษาในโบราณกาล จำต้องมีอาจารย์
อาจารย์คือผู้เผยความรู้ สอนให้รู้จักการงาน และคลี่คลายอวิทยา
มนุษย์มิใช่ผู้รู้โดยกำเนิด ก็ใครเล่าจักปราศจากความสงสัย?
หากสงสัยแต่มิไต่ถามอาจารย์ ที่สุดแล้ว เหตุแห่งความสงสัยก็มิได้รับการคลี่คลาย

                  ผู้ที่เกิดเกิดก่อนข้าพเจ้า ย่อมได้รับการศึกษาก่อนข้าพเจ้า
                  ดังนั้น ข้าพเจ้าจักตามไปศึกษาจากเขา
                  แม้นผู้ที่เกิดหลังข้าพเจ้า หากเขาศึกษาก่อนข้าพเจ้าเแล้ว
                  ข้าพเจ้าก็จักตามไปศึกษาจากเขาเช่นเดียวกัน

สำหรับข้าพเจ้า การศึกษาธรรมวิทยา/เต๋า (道) ทั้งหลาย มิพักต้องกังวลถึงวัยวุฒิซึ่งมากหรือน้อยกว่าข้าพเจ้าเลย!
ดั่งนี้ ย่อมไม่มีคำว่าสูงศักดิ์ฤาต่ำต้อย อาวุโสมากฤาน้อย
ธรรมวิทยาสถิตย์ ณ หนใด อาจารย์ย่อมสถิตย์ ณ หนนั้น

สามคน (หมายถึงมหาชน/ทุกคน มิใช่แค่ "สาม" ตามอักขระ) เดินมา ย่อมมีอาจารย์ข้า
เลือก [เรียนรู้] สิ่งที่ดีของเขาแล้วกระทำตาม
สิ่งที่ไม่ดีของเขา [เราก็เรียนรู้และ]ก็เปลี่ยนเสีย - จาก 《หลุนหยู่ว》

หมายเหตุ :เนื่องจากต้นฉบับเป็นภาษาโบราณ การแปลผ่านการตีความนี้อาจมีความคลาดเคลื่อนได้มาก หากผู้ใดมิเห็นพ้องก็แย้งได้เสมอ ยินดีน้อมรับ ด้วยจิตคารวะ

ธรรมชาติแห่งการดำรงอยู่ จากพุทธศาสนายุคต้น

ภัทรารัตน์ สุวรรณวัฒนา แปลจาก Time and Temporality in Indian Buddhism",  Michel Gauvain

The Persistence of Memory, Salvador Dalí


คำสอนยุคต้น เกี่ยวกับธรรมชาติแห่งการดำรงอยู่

ใน “พระสูตร การหมุนวงล้อแห่งธรรม” (ธรรมจักรกัปวัตนสูตร)
พระ ศากยมุนี พระพุทธเจ้าได้ให้พื้นแก่หลักการเรื่องเวลา ภายใต้หลักแห่งความไม่เที่ยง (หรือ อนิจจัง ในบาลี) ของปรากฏการณ์ทั้งปวง ทั้งนี้ พระองค์นำเสนอ อริยสัจข้อแรก คือ ทุกขสัจ หรือ ความจริงแห่งทุกข์
ต่อ จากนั้น ในมหาสูตรสำหรับขจัดตัณหา หรือ “มหาตัณหาสางขยะสูตร” พระองค์ชี้ว่า ไตรลักษณ์ คือ ลักษณะสามประการ ของปรากฏการณ์ทั้งปวงในสังสารวัฏ กล่าวคือ เป็นทุกข์ ไม่เที่ยง (อนิจจัง) และ ไม่มีตัวตน (อนัตตา)


ทุกสิ่ง เป็นเหตุแห่งทุกข์ เพราะเรามีแนวโน้มจะปรารถนาในโลกอันไม่เที่ยงและปราศจากสาระเที่ยงแท้ อีกนัยหนึ่ง ความทุกข์มีเหตุมาจาก มายาภาพแห่งการดำรงอยู่ชั่วคราว ซึ่งเกิดจาก อวิชชา หรือ การไม่ตระหนักรู้ถึงสภาพธรรมที่แท้แห่งการดำรงอยู่ และการดำรงอยู่ได้รับการพรรณาว่าเป็น กระบวนการซึ่งขึ้นกับเหตุปัจจัย อันไม่สิ้นสุด


การขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัย นี่เองเป็นโครงสร้างที่แท้แห่งจักรวาล กล่าวคือ ปรากฏการณ์ใดใดดำรงอยู่ได้
ด้วยเหตุและปัจจัย และเนื่องจากเหตุนั้นไม่เที่ยง ผลจึงไม่เที่ยงดุจกัน

กฏแห่งเหตุและผลนี้ นิยามความสัมพันธ์ของเหตุการณ์ คือ ถ้ามี x ก็จะมี Y ตามมา
ถ้า ไม่มี x ก็จะไม่มี Y นี้เรียกว่า การเกิดด้วยเหตุปัจจัย (ปฏิจจสมุปบาท) ซึ่งเป็นแก่นแห่งทางสายกลางของพระพุทธองค์ อันตั้งอยู่ระหว่าง ความเห็นที่ว่า ๑) อัตตาและโลกเที่ยงแท้คงทนอยู่เป็นนิรันดร์ (eternalism) และ ๒) ตายแล้วสูญ (nihilism) คำสอนดังกล่าวสะท้อนหลักการพื้นฐานที่ทำให้เราวิเคราะห์พัฒนาการของหลักการ เรื่องเวลาและ ความไม่เที่ยง ในศาสนาพุทธยุคต้นๆได้

ความเห็นของ สำนักอภิธรรม เกี่ยวกับเวลาและความไม่เที่ยง ถึงแม้พระพุทธเจ้าจะเทศนาถึงกฏแห่งความไม่เที่ยง พระองค์ก็ไม่เคยอธิบายถึงขอบเขตและแบบจำลองของกฏนี้ นี่อาจเป็นเพราะว่าพระพุทธเจ้าตระหนักรู้ธรรมทั้งปวงจากจิตโดยตรง พระองค์จึงไม่ประสงค์จะสร้างระบบภววิทยา (ontological system) แต่ทว่า สำนักต่างๆที่พัฒนาขึ้น ภายในช่วงหลายร้อยปีแรกหลังจากที่พระพุทธเจ้าปรินิพพาน ต้องสร้างระบบภววิทยาที่ดีเยี่ยม เพื่อโต้เถียงต่อกรกับตัวแทนจากศาสนาหรือลัทธิอื่นๆในอินเดีย และเพื่อจะต้านกระแสความคิดจากหลักธรรมย่อยๆอันหลากหลาย ซึ่งเกิดขึ้นภายในพุทธศาสนาเอง

สำนักเหล่านี้ นำเสนอความเห็นซึ่งสอดคล้องกับ หลักธรรมพื้นฐานในพระพุทธศาสนา (อริยสัจ ปฏิจจสมุปบาท อนัตตา และอนิจจัง) และพยายามหาข้อยุติเรื่องขอบเขตของกฏแห่งความไม่เที่ยง โดย พยายามไม่ให้ขัดกับหลักธรรมพื้นฐานที่กล่าวมานี้

หากเราพิจารณาคำสอน ของสำนักอภิธรรมให้ดี เราจะพบว่าคำสอนเหล่านี้เป็นจุดเปลี่ยนแห่งความเข้าใจในกฏของความไม่เที่ยง กล่าวคือ เปลี่ยนจากการตระหนักรู้ธรรมะจากจิตโดยตรง ไปเป็น ระบบภววิทยาที่อธิบายว่าธรรมะนั้นเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆอย่างฉับพลัน และจริงๆแล้วความเห็นของสำนักอภิธรรมหลายๆสำนักตั้งอยู่ระหว่างความสุดโต่ง ทั้งสองขั้วนี้

พุทธตันตระ - วัชรยาน ตอนที่ II

ภัทรารัตน์ สุวรรณวัฒนา แปลจาก The Essense of Jung's Psychology and Tibetan Buddhism

สัญญลักษณ์ แห่ง สองในหนึ่ง ของพุทธธิเบต หรือ ยับยุม เป็นภาพการร่วมรักของคู่เทพและเทวี
ซึ่งสามารถพบเห็นได้ในศิลปะศักดิ์สิทธิ์แห่งธิเบต ลามะโควินทร์ กล่าวว่าสัญลักษณ์นี้ ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการร่วมเพศทางกาย ทว่าเป็นเพียงภาพแทนการหลอมรวมของธาตุ (principle) แห่งชายหญิง
(คุณสมบัติ แห่งหญิงอันเป็นนิรันดร์ ดำรงอยู่ใน “มารดาผู้ศักดิ์สิทธิ์”) ดั่งนี้ แทนที่จะถวิลหาการร่วมเพศกับผู้หญิงที่อยู่ในโลกภายนอก เราต้องหาคุณสมบัติแห่งหญิงนั้นภายในตัวเราเอง โดยการหลอมรวมธรรมชาติแห่งชายหญิงในจิตภาวนา ลามะโควินทรเห็นว่า เราต้องยอมรับว่าขั้วตรงข้ามทางเพศเป็นเพียงเหตุบังเอิญในขั้วตรงข้ามแห่ง จัรวาล และต้องผ่านข้ามขั้วตรงข้ามนี้ให้จงได้

เมื่อเราเห็นความสัมพันธ์ของร่างกายกับจิตใจ และปฏิสัมพันธ์ของร่างกายกับจิตวิิญญาณในมุมมองของจักรวาล เราก็จะสามารถก้าวข้าม “ตัวกู” “ของกู” ได้ และยังจะสามารถก้าวข้ามโครงสร้างทั้งหมดอันเป็นที่มาของความรู้สึกในตัวกู ความเห็นต่างๆและการตัดสิน ซึ่งสร้างภาพลวงว่าตัวเราเป็นสิ่งที่แยกออกจากสิ่งอื่น เมื่อนั้นแลเราจะบรรลุพุทธภูมิ

อย่างไร ก็ตาม ชาวพุทธตันตระก็มีการฝึกร่วมประเวณี (maithuna) ในเชิงพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ โดยมีรากฐานทางความคิดเดียวกันกับหลักแห่งธาตุชายและหญิง S.B. Dasgupta ศึกษาข้อถกเถียงเกี่ยวกับชาวพุทธตันตระ เพื่อแก้ต่างให้กับพวกเขาในเรื่องการฝึกที่ไม่เป็นไปตามแบบแผนของสังคม พวกเขาเน้นย้ำว่าทุกสิ่งทุกอย่างขึ้นอยู่กับความบริสุทธ์ของจิต กล่าวคือ การกระทำด้วยปัญญาและกรุณา

เมื่อจิตบริสุทธิ์ เราก็จะบริสุทธิ์

ทว่าพวกเขาก็ยังเตือนด้วยว่า นี่เป็นหนทางยากสำหรับผู้ที่ยังไม่ได้รับการอภิเษก “สิ่งที่ลากคนเขลาผู้ไม่ได้รับการอภิเษก สู่นรกแห่งความหมกมุ่นในโลกีย์ อาจช่วยให้โยคีที่อภิเษกแล้วเข้าถึงการตรัสรู้ได้” ประเด็นที่สำคัญมากคือ โยคีและโยคินีต้องมั่นคงในสิ่งที่ตนอธิฐาน ว่าจะทำกรรมต่างๆด้วยจิตที่มีเมตตาและมีปัญญา นั่นคือ ความรู้และความเข้าใจในธรรมชาติอันว่างเปล่าของปรากฏการณ์ทั้งปวง ดังนั้น จึงมีคำกล่าวว่า;
ประดุจดั่ง ยารักษาโรคบางขนานอันหวานยวนชวนลิ้มรส ความปิติผุดขึ้นจาก ปัญญาและ อุปายะ (ความเมตตา) ซึ่งผสานรวมกัน มันทำลายความทุกข์ ได้อย่างราบรื่นและง่ายดาย อีกครั้ง เชือกซึ่งผูกมัดคนผู้หนึ่ง สามารถปลดปมให้อีกคนอีกผู้หนึ่ง


Herbert Guenther นักวิชาการอีกท่าน กล่าวเช่นเดียวกันว่า สติแห่งพุทธะทั้งหลายซึ่งตระหนักรู้ได้ในตัวเรา
เรียกว่า มหาปิติ เพราะ มันคือความสุขสำราญอันเลอเลิศกว่าความสำราญทั้งปวง หากปราศจาก ปิติ การตรัสรู้ก็มิบังเกิด เพราะการตรัสรู้คือ ปิติในตัวเองเสมือนหนึ่งดวงจันทราทอแสง ในความมืดอันลึกล้น
ดั่งนี้ ชั่วขณะเดียวแห่งมหาปิติอันสูงสุด จึงช่วยบรรเทาทุกข์ทีละน้อย

นี่ไม่ใช่วิธีคิดแบบเฮโดนิส (Hedonism) จริงๆแล้วมันเกือบจะตรงกันข้ามกันเลยทีเดียว เพราะว่าหลักการนี้ต้องอาศัยความมัวินัยอย่างมาก และเพียงการมีวินัยอย่างสม่ำเสมอเท่านั้นที่จะทำให้ผู้ฝึกบรรลุถึงอิสรภาพ ที่แท้ได้ นี่เป็นหลักการเบื้องต้นที่สุด สำหรับการฝึกตันตระทุกอย่าง ดั่งนี้ มันจึงเหมือนกับ โฮมีออพพะธี (homeopathy) กล่าวคือ การฝึกด้วยหลักที่ว่า ความชอบจะช่วยแก้ความชอบ เหตุแห่งโรคสามารถต้านโรคและรักษาโรคได้ หากใช้ในปริมาณที่เหมาะสม

ชาว พุทธวัชรยาน อาจจะกล่าวด้วยว่าการกระทำซึ่งถ่วงมนุษย์ไว้ในโลกแห่งความระทมอันเป็นนิรันดร์ ก็ช่วยปลดปล่อยผู้กระทำนั้นได้ หากเพียงกระทำโดยพลิกมุมมอง ให้ประกอบด้วยปัญญาและอุปายะ เหมือนกับในการรักษาแบบ homeopathic อาการของโรคจะไม่ถูกกดไว้ แต่จะถูกกระตุ้นให้รุนแรงขึ้นชั่วคราว นี่เป็นขั้นตอนสำคัญ ในการขจัดโรคอย่างเด็ดขาด ดังนั้น ความโกรธก็ขจัดความโกรธได้ ตัณหาขจัดตัณหาได้ และพิษอื่นๆก็แก้ได้ด้วยวิธีการอย่างนี้ เมื่อได้รับการแปรให้เป็นปัญญา

อย่างไรก็ตาม นี่เป็นดาบสองคม หนทางนี้อาจนำไปสู่ความสุกสว่างหรือสู่โรคา เราจึงไม่อาจเดินบนเส้นทางนี้ได้โดยปราศจากการนำของอาจารย์ผู้มีเมตตาและมี ปัญญา นี่เป็นเหตุให้คำสอนตันตระและการฝึกเฉพาะถูกเก็บรับษาไว้เป็นความลับมิให้ ผู้ที่ยังไม่ได้รับการอภิเษกล่วงรู้ และจะได้รับการถ่ายทอดอย่างค่อยเป็นค่อยไปในระดับที่ คนคนหนึ่งจะสามารถรับได้เท่านั้น ทั้งนี้ มีเครื่องช่วยผู้ฝึกมากมาย อย่างเข่นการบูชาและพิธีกรรมอันมากหลาย ในกระบวนการปลี่ยนแปลงตนเอง และการเข้าถึงจิตสำนึกในขั้นที่สูงกว่า เครื่องช่วยต่างๆได้รับการประดิษฐ์ขึ้นเพื่อใช้กับการดำรงอยู่ของเราทั้งสาม ส่วนอย่างครอบคลุม ทั้ง กาย วาจา สิ่งเหล่านี้จะกระตุ้นหรือปลุกพลัง ซึ่งซุกซ่อนอยู่อย่างเฉื่อยฉาในจิตไร้สำนึกอันลึกล้ำ


กลวิธีทั้งสามที่พบได้อย่างดาดดื่น คือ การท่องมนตรา (วจนะศักดิ์สิทธิ์) ซึ่งเกี่ยวข้องกับการพูด ; ท่าทางประกอบพิธีกรรม (มุทรา) ซึ่งเกี่ยวกับร่างกาย ; จิตภาวนา (โดยเฉพาะ การเพ่งภาพและการหลอมรวมเป็นหนึ่งกับภาพทวยเทพ) ซึ่งเกี่ยวข้องกับจิต

เนื้อหา ในบทต่อๆไป จะวกกลับมาสู่กลวิธีทั้งสามนี้ โดยจะอภิปรายเกี่ยวกับความหมายและรายละเอียด รวมถึงสัญลักษณ์และบทบาทของมัณฑะลา แต่สำหรับตอนนี้ ก็จะขอกล่าวเพียงว่า จุด มุ่งหมายของตันตระ คือ การแสดงเส้นทางอันจะปลดปล่อยแสงศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งส่องสว่างอย่างเร้นลับและโชติช่วงอยู่ภายในตัวเราทุกคน แม้ว่าแสงนั้นจะถูกหุ้มห่ออย่างซับซ้อนซ่อนเงื่อนในบรรสานโยงใยแห่งจิต (psyche)

 

พุทธตันตระ - วัชรยาน ตอนที่ I

ภัทรารัตน์ สุวรรณวัฒนา แปลจาก The Essense of Jung's Psychology and Tibetan Buddhism



พุทธตันตระหรือพุทธวัชรยานเป็นยานลำที่สาม ถึงแม้นพุทธตันตระจะเป็นส่วนหนึ่งของสำนักมหายานแต่พุทธตันตระก็ทำให้พุทธธิเบต พัฒนาถึงจุดสูงสุดและงามสง่าที่สุด เมื่อดำเนินไปตามทางลัดของตันตระหรือยานเพชร ผู้ฝึกอาจบรรลุนิพพานได้ในชั่วชีวิตเดียว ทั้งที่พระพุทธศาสนาสอนว่าการเดินทางสู่พุทธภูมิโดยเส้นทางอันซ้อนหลั่น อื่นๆนั้นกินเวลายาวนานสุดจะหยั่ง “ชั่วกัปป์ชั่วกัลป์”

พุทธตันตระมีพื้นฐานมาจากปรัชญามาธยมิกะ ซึ่งมีแก่นคือทางสายกลาง กล่าวคือ ตรงกลางระหว่างความเห็นสุดโต่งสองทางที่เชื่อว่าว่า

๑) อัตตาและโลกเที่ยงแท้คงทนอยู่เป็นนิรันดร์ (eternalism) หรือ
๒) ตายแล้วสูญ (nihilism)



พุทธ ตันตระไม่สนใจการการใคร่ครวญเชิงทฤษฏีหรือเชิงอภิปรัชญา และไม่สนใจการทรมานตนอย่างสำนักอื่นๆ พุทธตันตระเน้นอุปายะอันซับซ้อน ซึ่งผู้ที่ยังไม่ได้รับการอภิเษกไม่อาจเข้าใจได้ อุปายะเหล่านี้ มีเค้ามาจากการถือโชคลางของคนโบราณและอิทธิฤทธิ์ของเหล่าชามาน อย่างไร ก็ดี โดยแก่นแท้แล้ว สิ่งเหล่านี้ก็ไม่ได้เป็นอะไรนอกเสียจาก อุปายะอันหลากหลายเพื่อการเปลี่ยนแปลงทางจิตวิญญาณ กล่าวคือ วิถีการแปรเปลี่ยนทุกแง่มุมของชีวิตในสังสารวัฏ ทั้งแง่บวก แง่ลบ หรือกลางๆ ไปสู่ปัญญาแห่งการหลุดพ้น อุปสรรคทั้งหลาย เช่น ราคะ ถูกแปรเป็นพาหนะสู่การรู้แจ้ง ก้าวข้ามความดีและความชั่ว และไหลคืนสู่แก่นแท้แห่งจิตวิญญาณอันพิสุทธ์ ซึ่งเป็นธรรมชาติเดิมแท้แห่งจักรวาล

นี่คือทางตรงและลัดสั้น สู่การปลดปล่อย เป็นสิ่งซึ่งทรงพลังยิ่งและนำมาซึ่งขีดสุดของวิวัฒนาการแห่งจิตสำนึก แต่ทว่า ทางตรงลัดนี้ไม่ใช่ทางง่ายและยังเต็มไปด้วยอันตราย มันเป็นทางที่ไกลเกินกว่าสิ่งพื้นพื้นอันดิบหยาบ และเป็นอุปายะอันซับซ้อนแห่งการเติบโตและเปลี่ยนแปลงทางจิตวิญญาณ

จุดหมายปลายทางของสำนักพุทธ คือความรู้แจ้งเหมือนกันหมด นั่นคือ ความรู้แจ้ง ณ ที่นี่และเดี๋ยวนี้ และไม่ใช่อนาคตอันไม่อาจหยั่งถึง ความพ้นทุกข์อย่างสิ้นเชิงคือจุดหมายปลายทาง และเป็นสิ่งเดียวที่พระพุทธองค์ใส่ใจ ดังที่ตรัสไว้ในปฐมเทศนาแห่งอริยสัจสี่ นอกจากนี้ จุดหมายอีกอย่างหนึ่งคือ
การเดินไปตามความศรัทธาอันแรงกล้าที่ว่า ยังมีทางออกจากความทุกข์ของชีวิตทางโลก

อนึ่ง ก่อนที่ผู้ฝึกจะเข้าฝึกตันตระ ผู้ฝึกจะต้องคุ้นเคยกับการฝึกเบื้องต้นของหินยานและมหายาน
ความอดทนอดกลั้น สติ การฝึกจิต ความกรุณา และความพร้อมด้วยปัญญา เหล่านี้เป็นพื้นฐานสำคัญที่ผู้ฝึกต้องฝึกมาก่อนจะล่วงเข้าสู่เส้นทางแห่ง เพชร

อันที่จริงแล้ว ท่านอติสะ ซึ่งเป็นอาจารย์ตันตระ ใน ศตวรรษที่ ๑๑ สอนจากพื้นความคิดว่า
“เราไม่อาจกล่าวถึง หินยาน มหายาน วัชรยาน ได้อย่างแยกส่วน แต่ต้องมองว่ายานทั้งสามนี้ เป็นแง่มุมต่างๆของเส้นทางหนึ่งเดียว” เมื่อเรามองยานทั้งสามรวมกัน ก็จะเห็นได้ว่ายานทั้งสามเป็นวิวัฒนาการอันมีระบบและเป็นธรรมชาติ ตามหลักปริยัติและปฏิบัติในพระพุทธศาสนา

ตันตระ มีนัยยะถึง ความต่อเนื่อง กล่าวคือ ความต่อเนื่องของความเคลื่อนไหวและการเติบโตภายในของชีวิตหนึ่งๆ ในการฝึกจิตวิญญาณ การฝึกฝนนี้จะนำมาซึ่งความเข้าใจถึงความโยงใยแห่งปรากฏการณ์ทั้งปวง ความสัมพันธ์ของโครงสร้างเล็กและโครงสร้างใหญ่ จิตและจักรวาล สสารและจิตวิญญาณ และกรอบความคิดเช่นนี้ก็คล้ายกันอย่างมากกับการค้นพบทางวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ อาจกล่าวได้ว่า เป้าหมายของพุทธตันตระ คือ การทะลวง หรือการควบคุมและการแปรพลังพลวัตแห่งจักรวาล ซึ่งไม่ต่างจากพลังจิต แต่นี่ไม่ใช่สิ่งที่จะทำได้ผ่านการคิดหรือผ่านทฤษฏีเชิงนามธรรม


มี การโต้แย้งและปราศจากความเห็นพ้องอันชัดเจน ในความเหมือนและความต่างระหว่างฮินดูตันตระและพุทธตันตระ รวมถึงต้นกำเนิดของตันตระด้วย นักประพันธ์ท่านหนึ่งกล่าวว่า ไม่มีใครคนใดคนหนึ่งทำให้ตันตระเป็นส่วนหนึ่งของพุทธศาสนา ในกาลเวลาอันจำเพาะเจาะจง แต่ทว่า ตันตระค่อยๆหลอมรวมเป็นส่วนหนึ่งของพระพุทธศาสนา ผ่านกาลเวลาหลายศตวรรษ และไม่มีความต่างที่สำคัญระหว่างฮินดูตันตระและพุทธตันตระ

อย่างไร ก็ดี นักวิชาการท่านอื่น อย่างเช่น ท่าน ลามะ โควินทร์ และ Benoytosh ยืนยันว่า ถึงแม้พุทธตันตระและฮินดูตันตระจะมีรูปแบบภายนอกที่เหมือนกัน แต่แท้จริงแล้วก็มีส่วนต่างที่สำคัญอยู่ ท่านโควินทร์กล่าวว่า พุทธตันตระไม่มีกรอบความคิดเกี่ยวกับศักติ หรือแง่มุมแห่งความเป็นหญิงอันสร้างสรรค์ของมหาเทพศิวะ และต่อมาแนวคิดเรื่องพลังแห่งศักติ ก็ไม่ใช่แนวคิดหลัก แต่แนวคิดหลักได้กลายเป็นเรื่อง ปัญญา

ความคิดหลักของวัชรยาน คือ หลักการเกี่ยวกับขั้วทั้งสองของชายและหญิง และการหลอมรวมของขั้วแห่งชายหญิงเป็นเป้าหมายของการฝึกตันตระ การหลอมรวมของสิ่งตรงข้ามจักก้าวข้ามทวิภาวะไปสู่เอกภาพสมบูรณ์ และนี่คือความเป็นจริงแห่งจิตวิญญาณอันสูงสุดในเส้นทางแห่งความรู้แจ้ง

แท้จริงแล้วสภาวะนี้แหละ คือ ความรู้แจ้ง

ใน ประติมานวิทยา (Iconography) ภาพทวยเทพซึ่งสวมกอดคู่ของท่านอย่างรักใคร่และพากันเสวยความสุขสำราญสุดยอด ได้แสดงให้เห็นถึงหลักการแห่งการหลอมรวม


สำนักทุกสำนักของตันตระกล่าวว่า ความสุขสำราญเป็นธรรมชาติแห่งความสมบูรณ์ เราตระหนักรู้ความสมบูรณ์ เมื่ิอตระหนักตนในความสำราญอันบริบูรณ์ ในประสบการณ์แห่งความสุขสำราญธรรมดาๆนี้เองที่ เราแวบรู้ถึงความสุขสำราญอย่างเดียวกับในธรรมชาติเดิมแท้ของเรา แต่ทว่า ประสบการณ์แห่งความสุขสำราญเหล่านี้ เป็นประสบการณ์อันจำกัดและแปดเปื้อน ดังนั้นจึงถ่วงเราไว้ในภพที่ต่ำกว่า แทนที่จะนำไปสู่ความก้าวหน้าในการตระหนักรู้ตนเอง

ความสุขสำราญ นิพพาน และความรู้แจ้ง กลายเป็น คำพ้องความหมายในพุทธตันตระ การจ่อมจมในธรรมชาติเดิมแท้ของอัตตาและอนัตตาในความเป็นหนึ่งแห่งความสุขสำราญอันบริบูรณ์ การฝึกฝนทางจิตวิญญาณภายใต้การร่วมเพศตามหลักโยคะ หรือความเร้นลับแห่งกาม ซึ่งก็คือ ความสุขแห่งเพศรสอันแปรเป็นความสุขอันศักดิ์สิทธิ์ และเป็นเครื่องมือสำหรับความบริบูรณ์ทางจิตวิญญาณ

พุทธตันตระ มีหลักว่ากายของมนุษย์เป็นโครงสร้างเล็ก (microcosm) ซึ่งเป็นรูปธรรมของความจริงอันเป็นนามธรรมแห่งโครงสร้างใหญ่ (macrocosm) ความจริงอันสมบูรณ์โอบล้อมทวิภาวะทั้งปวง
นิพพาน - สังสารวัฏ, ปัญญา (ธาตุหญิง) - อุปายะ (วิธีการสู่การได้มาซึ่งปัญญา อันเป็นธาตุชาย),
สุญญตา (ความว่าง) - กรุณา

สาวก แห่งตันตระหลอมรวมทวิภาวะเข้าในกายเนื้อของเขาเอง กล่าวคือปฐมเอกภาพ ซึ่งสกัดกั้นการแบ่งแยกและรวบรวมความต่างทั้งปวง กล่าวอีกนัยหนึ่ง สาวกเห็นตันตระใช้ร่างของตนเป็นสื่อในการก้าวข้ามปรากฏการณ์ทางโลก และเป็นสื่อของประสบการณ์ในอทวิภาวะ, ความบริบูรณ์อันมีอยู่ก่อนสรรพสิ่ง, และความสุขสำราญสุดยอด

การฝึกของตันตระ พิธีกรรมของตันตระ และจิตภาวนาแบบตันตระ หรือที่เรียกกันว่า สาธนา มีเป้าหมายคือการตระหนักรู้ดั่งว่านี้ นี่คือ พลวัตแห่งขั้วตรงข้าม คือแก่นแห่งปรัชญามาธยมิกะหรือทางสายกลาง ซึ่งโอบล้อมและสวมกอดทุกสิ่งไว้


ณ ห้วงขณะที่ความกรุณาอันยิ่งใหญ่บังเกิด
ความว่างอันเปลือยเปล่า เจิดจ้าและยิ่งใหญ่ ก็ผุดขึ้น
ขอทางแห่ง สองในหนึ่ง นี้ปรากฏแก่ข้าเสมอ

และได้ฝึกมันทั้งในทิวาแลราตรี

บทสนทนาของท่านเมิ่งจื่อกับฉีซวนอ๋อง ตอนที่ II

ภัทรารัตน์ สุวรรณวัฒนา แปล 2005年10月 5号
บทสนทนาของท่านเมิ่งจื่อกับฉีซวนอ๋อง ใน《齐桓晋文之事》
จากเอกสารประกอบการเรียน ภาควิชาภาษาจีน คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์



"เพลา นี้ หากพระองค์บัญชาให้ปกครองโดยยึดหลักเมตตาธรรม ข้าราชการทั้งหลายในแผ่นดินก็ล้วนปรารถนามาอยู่ใต้เบื้องยุคลบาทในราชสำนัก พระองค์ ชาวนาชาวไร่ล้วนปรารถนามาทำการเพาะปลูกในที่นาของพระองค์ พ่อค้าแม่ค้าล้วนอยากนำสินค้ามาสะสมไว้ที่อาณาจักรของพระองค์ นักท่องเที่ยวล้วนปรารถนาจะสัญจรเข้าออกบนเส้นทางของพระองค์ คนในแต่ละอาณาจักรที่ชิงชังผู้ครองอาณาจักรของตนก็ล้วนปรารถนามาอุทธรณ์ ทุกข์กับพระองค์ หากเป็นดั่งนี้แล้ว พระองค์ลองตอบข้าสิว่า ใครจักเป็นผู้ชนะ"

ฉี ซวนอ๋องตรัสว่า "ข้าโฉดเขลาเบาปัญญา ไม่สามารถทำได้ตามที่ท่านว่า ขอท่านได้โปรดสั่งสอนข้าให้กระจ่างด้วยเถิดว่าทำอย่างไรจึงจะสมปรารถนาได้ ถึงแม้นข้ามิได้มีปัญญานัก แต่ก็จะพยายาม"


เมิ่งจื่ อกล่าว "ผู้ไร้ความมั่นคงในสินทรัพย์จะดำเนินชีวิต หากแต่ยังดำรงไว้ซึ่งใจอันงดงามได้ตลอดนั้น เห็นทีจะมีแต่เพียงอริยชนเท่านั้น อันว่าประชาชน เมื่อไม่มีทรัพย์สินที่มั่งคง พวกเขาย่อมมีใจไม่มั่นคง เมื่อไม่มีใจไม่ตั้งมั่นในการประกอบกุศลกรรมแล้ว โดยมากก็สามารถจะฝ่าฝืนข้อบังคับ ทำการต่อต้านแล้วก่อการจลาจลได้โดยง่าย หากรอจนพวกเขาก่อการจลาจล แล้วใช้บทลงโทษรุนแรง เช่นนี้เสมือนเป็นการให้พวกเขารับโทษที่ไม่ได้ก่อ... มีประมุขทรงอำนาจผู้เมตตาองค์ใด กระทำการปรักปรำลงโทษประชาชนได้เยี่ยงนี้?

เพราฉะนั้นประมุขผู้ทรงปัญญา เมื่อออกมาตรการเกี่ยวกับทรัพย์สินของประชาชน ก็ควรคำนึงให้ประชาชนสามารถเลี้ยงดูพ่อแม่ได้ และอย่างน้อยๆ ก็ควรให้เลี้ยงดูภรรยาและบุตรธิดาได้ เมื่อฤดูเก็บเกี่ยวมาถึง ประชาชนจะต้องมีอาหารพอเพียงและมีเสื้อผ้าสวมใส่ หากแม้นป้องกันไม่ให้ [ประชาชน] อดตายได้ การจะให้ประชาชนทำตามกฎหมายก็เป็นเรื่องง่ายดายนัก

แต่ ณ ขณะนี้ พระราชบัญญัติเกี่ยวกับการจัดการทรัพย์สินของประชาชน ไม่สามารถทำให้เขาดูแลพ่อแม่ให้อยู่ดีกินดีได้ ไม่สามารถทำให้ประชาชนเลี้ยงดูครอบครัวได้ แม้แต่ในปีที่ไร้ภัยแล้ง ประชาชนก็ยังต้องดำเนินชีวิตอย่างอดอยากยากแค้น ยิ่งปีใดมีภัยธรรมชาติ ก็ยิ่งเลี่ยงความอดอยากปากแห้งไม่ได้ ขนาดเลี้ยงดูตัวเองยังเอาไม่รอดเช่นนี้แล้ว ประสาอะไรจะให้ประชาชนทำตามชนบประเพณี รักษาสมบัติผู้ดี ถ้าพระองค์มีพระราชดำหริจักปกครองแผ่นดินโดยเมตตาธรรมแล้วไซร้ ใยไม่ปฏิบัติให้แตกต่างจากสิ่งที่ข้าพเจ้ากล่าวข้างต้นเล่า

จงให้ ทุกครัวเรือนที่มีที่อาศัยเป็นเนื้อที่ 5 หมู่(ไร่จีน) ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม ผู้เฒ่าอายุ 50 ปีก็จะมีเสื้อผ้าสวมใส่ เลี้ยงไก่หมูหมาโดยไม่ขวางมันในฤดูผสมพันธุ์ เฒ่าชราอายุ 70 ปี ก็จะมีเนื้อสัตว์กิน แบ่งที่นาให้ครอบครัวต่างๆ ครอบครัวละละ 100 หมู่ อย่าไปแย่งเวลาทำนาของพวกเขา เท่านี้ครอบครัวที่มีจำนวนสมาชิกถึง 8 คน ก็จะไม่อดอยาก ส่งเสริมการศึกษาในสถานศึกษา สั่งสอนบุตรธิดาโดยใช้ความกตัญญูและคุณธรรมความนอบน้อมต่อผู้หลักผู้ใหญ่ เป็นเครื่องมือ ผู้เฒ่าผมแซมขาวก็ไม่ต้องแบกสัมภาระระหกระเหินอยู่ตามถนน

เมื่อผู้เฒ่าอายุ 70 มีเสื้อผ้าสวมใส่ มีเนื้อสัตว์กิน ประชาชนไม่อดอยากเหน็บหนาวเช่นนี้แล้ว มิเป็นมหาราช หามีไม่"

เพิ่มเติม

ท่านเมิ่งจื่อวางนโยบายทางเศรษฐกิจสำหรับอาณาจักร ทั้ง 7 ไว้ดังนี้ ;
(1) ยกเลิกภาษีสินค้าเพื่อให้สินค้านานาชนิดอุดมสมบูรณ์ ข้าวจะได้ถูกลง (โห Free Trade Zone! ^-^)
(2) กำหนดราคาสินค้า เพื่อมิให้พ่อค้าฉวยโอกาสโก่งราคา และให้ประชาชนได้ซื้อเครื่องอุปโภคบริโภคที่ปลอดภาษี
(3) จัดสรรที่ดินทำกินให้แก่ประชาชน
(4) ห้ามมิให้รัฐบาลเกณฑ์แรงราษฎรในฤดูเก็บเกี่ยวพืชผล
(5) สงวนพันธ์สัตว์น้ำ สัตว์บก สงวนป่าไม้ไว้ ไม่ให้คนฆ่าฟัน ขุดโค่นทำลาย
(6) ส่งเสริมให้ทุกครัวเรือนทำสวนครัวและอุตสาหกรรมในครอบครัว
(7) สร้างโรงเรียน อบรมสั่งสอนจริยธรรม และวิชาความรู้แขนงต่างๆแก่ประชาชนทั่วไป

เมิ่งจื่อ ได้วางนโยบายทางเศรษฐกิจสำหรับอาณาจักร ซึ่งแบ่งเป็น 7 หัวข้อใหญ่ ในเรื่องการจัดสรรที่ดินมีเนื้อหาโดยสังเขปคือ ให้รัฐบาลจัดสรรที่ดินทำกินให้กับประชาชน โดยกำหนดบริเวณเนื้อที่ 1 ลี้ แบ่งเป็นนา 900 ไร่ ตรงกลาง 100 ไร่ เป็นนาหลวง ขนัดล้อมด้วยนาอีก 800 ไร่ ซึ่งต้องยกให้แก่ครอบครัว 8 ครอบครัว ครอบครัวละ 100 ไร่ รัฐบาลไม่เก็บภาษีนาของราษฎร ดังนั้นราษฎรเก็บเกี่ยวนาได้เท่าไหร่ก็เป็นสมบัติของราษฎรเจ้าของที่ดิน แต่ราษฎรทั้ง 8 ครอบครัวต้องมาทำงานที่นาหลวงส่งผลได้ในนาหลวงนั้นแก่รัฐบาล

บทสนทนาของท่านเมิ่งจื่อกับฉีซวนอ๋อง ตอนที่ I

ภัทรารัตน์ สุวรรณวัฒนา แปล 2005年10月 5号
บทสนทนาของท่านเมิ่งจื่อกับฉีซวนอ๋อง ใน《齐桓晋文之事》
จากเอกสารประกอบการเรียน ภาควิชาภาษาจีน คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์


เมิ่งจื่อ ทูลถามฉีซวนอ๋องว่า "ฝ่าบาททรงดำริจะระดมพลทำสงคราม ทำให้ไพร่พลและขุนนางต้องเผชิญอันตรายและทำให้เจ้าแห่งอาณาจักรอื่นขุ่น เคือง ฝ่าบาททรงเห็นเป็นเรื่องสนุกกระนั้นหรือ?"

ฉีซวนอ๋องตรัสว่า “หามิได้ ข้าจะเห็นเรื่องเช่นนี้เป็นเรื่องสนุกไปได้อย่างไรกัน ข้าเพียงต้องการทำตามความปรารถนาอันยิ่งใหญ่ที่สุดต่างหาก”

เมิ่งจื้อการทูลถามว่า “ก็แล้ว ความปรารถนาอันยิ่งใหญ่ที่สุด ของพระองค์คืออะไรเล่า”

ท่านอ๋องเพียงแย้มพระโอษฐ์หากแต่มิตรัสตอบ

เมิ่งจื่อ จึงว่า “ฝ่าบาททรงทำไปเพราะพระกระยาหารอันโอชามิพอเสวยหรือ ฉลองพระองค์ยังใส่ไม่สบาย ไม่พอจะทำให้พระองค์อบอบอุ่นละหรือ หรือแสงสีอันตระการตาไม่พอให้ทอดพระเนตร คีตาอันปราณีตมิพอให้สดับหรือ ข้าทาสบริวารไม่พอให้ทรงใช้สอยหรือ ข้าพเจ้าว่า เหล่าเสนาบดีของฝ่าบาทสามารถจัดหาสิ่งเหล่านี้มาสนองความต้องการของฝ่าบาท ได้อย่างเพียงพอ
แล้วฝ่าบาทยังทรงทำเพื่อสิ่งเหล่านี้หรือ?”

ฉีซวนอ๋องตรัสว่า “หามิได้ ข้าพเจ้ามิได้ทำเพื่อสิ่งเหล่านี้”

เมิ่งจื่อ จึงกราบทูลว่า “ถ้าเช่นนั้น ข้าเข้าใจแล้วว่าความปรารถนาอันยิ่งใหญ่ของพระองค์คือ ทรงต้องการขยายอาณาเขตเพื่อให้อาณาจักรใหญ่อย่างฉินและฉู่มาสวามิภักดิ์ ต่อจากนั้น พระองค์ก็จะ เข้าครอบครองจีนทั่วแว่นแคว้น และสยบเหล่าอนารยชนทั่วสารทิศให้อยู่ในความสงบ แต่การใช้วิธีก่อศึกรุกรานเพื่อบรรลุความปรารถนาเช่นนี้ เปรียบเสมือนการ ปืนต้นไม้จับปลา(缘木求鱼*)ไม่มีวันสำเร็จหรอก

ฉีซวนอ๋องตรัสถามว่า “ร้ายแรงถึงเพียงนั้นเชียวหรือ?”

เมิ่งจื่อ ทูลว่า “น่าจะร้ายแรงกว่าด้วยซ้ำ เพราะการปืนต้นไม้จับปลา [ข้อเสีย] อย่างมากก็แค่จับปลาไม่ได้ มิได้ก่อให้เกิดภัยพิบัติอันใด แต่ [ข้อเสียของ] การก่อศึกนั้นไม่เพียงแต่มิอาจบรรลุความปรารถนาเท่านั้น หากยังมีผลร้ายติดตามมาอย่างเหลือคณานับ”

ฉีซวนอ๋องตรัส “นี่มันยังงัยกัน ไหนลองว่ามาซิท่านเมิ่งจื่อ”

เมิ่งจื่อว่า “เอาอย่างนี้นะท่าน ท่านว่าถ้า คนอาณาจักรโจวกับคนอาณาจักรชิง ทำสงครามกัน ฝ่ายไหนจะชนะ”

 
ฉีซวนอ๋องตรัสตอบ อุวะ! มันก็ต้องอาณาจักรชิงสิ

เมิ่งจื่อ จึ่งกราบทูลว่า ถ้าอย่างนั้นก็แสดงว่า นครรัฐเล็กๆจำเดิมย่อมไม่สามารถ จะตั้งตนเป็นศัตรูกับนครรัฐใหญ่ๆได้ รัฐที่มีประชากรน้อย (กำลังพลน้อย) ตามธรรมดา ก็ไม่สามารถเป็นอริกับรัฐที่มีประชากรมาก รัฐที่อ่อนแอตามธรรมดาย่อมไม่อาจเป็นปรปักษ์กับรัฐที่เข้มแข็ง ณ ผืนดินซึ่งขนัดล้อมด้วยห้วงสมุทรนี้ รัฐอิสระที่มีพื้นที่ถึงพันลี้ มีเพียง 9 รัฐ ส่วนรัฐฉีมีกำลังเพียง 1 ใน 9 ส่วนเท่านั้น

การนำกำลังเพียง 1 ใน 9 ส่วนไปทำให้กำลังที่เหลือถึง 8 ใน 9 ส่วนยอมศิโรราบ
เทียบกับการทำสงครามของรัฐโจวกับชิงแล้ว พระองค์คิดว่ามีอะไรที่ต่างกัน
ยังเหมือนกับแนวคิดข้างต้นหรือไม่

*ปรกติ 求 (qiú)แปลว่า หา

บรรยายเรื่องศีลโพธิสัตว์ มูลนิธิพันดารา






บรรยายเรื่องศีลโพธิสัตว์เป็นภาษาธิเบต โดย กุงกา ซังโป ริมโปเช 
แปลเป็นภาษาไทยโดย อาจารย์ รศ. ดร. กฤษดาวรรณ หงศ์ลดารมภ์  ประธานมูลนิธิพันดารา
ภัทรารัตน์ สุวรรณวัฒนา บันทึก 

ขอให้ข้อบันทึกเป็นประโยชน์และแรงบันดาลใจสำหรับทุกคน และขอให้กุศลทั้งหมดต่อทุกท่าน



การเปลี่ยนจิตใจตนให้มีจิตแบบโพธิสัตว์ คือ ให้เรานึกถึงผู้อื่นเป็นหลัก เพราะปรกติเราจะนึกถึงแต่ตัวเองเป็นหลัก

การมีโพธิจิตมี ๒ แบบ คือ ในสมมุติสัจ และปรมัตถสัจ

การเป็นโพธิสัตว์ นั้นเราต้องทำตนให้เป็นที่ควรค่าแก่การบูชา โดย เป็นไปได้สองแบบคือ
๑ โดยการอธิษฐานจิต ให้สรรพสัตว์ทั้งหลายเข้าถึงสัมมาสัมโพธิญาณ
๒ ลงมือกระทำโดยการรับใช้สรรพสัตว์

โพธิสัตว์มีสามแบบ คือ
๑. เป็นแบบพระราชา คือ พ้นทุกข์ก่อนเพื่อกลับมาช่วยให้สรรพสัตว์พ้นทุกขฺ
๒. เป็นแบบคนพายเรือ คือ ไปพร้อมกับผู้โดยสาร
๓. เป็นแบบคนเลี้ยงแกะหรือจามรี คือ ไปทีหลัง ซึ่งในความเชื่อของธิเบตถือว่าเป็นทัศนะแบบที่ประเสริฐที่สุด เพราะว่าไม่ได้นึกถึงประโยชน์ของตนเลย  และตั้งจิตให้สรรพสัตว์เข้าถึงโพธิญาณก่อน

หัวใจ หลักในการเป็นโพธิสัตว์ คือ มีความกรุณาต่อสรรพสัตว์อย่างไม่จำกัด มีโพธิจิต และตระหนักรู้ในความว่างหรือศูนยตา ดั่งที่จารึกในพระสูตร

เราควรฝึกขันติบารมี เช่น การฝึกละความโกรธ  หากเราโกรธใครให้คิดเสียว่า เราเคยทำร้ายเขามาก่อนในอดีต ทั้งนี้ ตามความเชื่อของชาวธิเบตนั้น สรรพสัตว์ทั้งหลายอาจเคยเป็นพ่อแม่ของเรามาก่อนในอดีตชาติ ไม่มีใครเป็นศัตรูเรา หากมีก็เป็นเพราะจิตเราสร้างศัตรูขึ้นมาเอง ถ้าเขาเป็นศัตรูเราจริง ก็คงต้องเป็นชั่วนิรันทร์  แต่อันที่จริงก็เปล่าเลย จิตเราเท่านั้น ที่ปรุงแต่ง เมื่ออายาตนะภายใน กระทบอายาตนะภายนอก และวิญญาณขันธ์ทำงาน

อนึ่ง ชาวธิเบต พูดถึงศีลในสามลักษณะ คือ
๑. ศีลปาติโมกข์
๒. ศีลโพธิสัตว์
๓. ศีลตันตระ



Graceful dying VDO

การเปิดจุดผ่านแดนเพื่อการค้า บริเวณชายแดนไทย-สหภาพพม่า ตอนที่ II

ปัญหาความมั่นคงซึ่งมีผลกระทบต่อการค้าชายแดนไทย-สภาพพม่า
(The security problems affecting Thai-Myanmar cross-border trade)

นายนิพนธ์ สุวรรณวัฒนา (อดีต ผอ.ฝ่ายกฏหมายกรมศุลกากร) ข้อมูล
ภัทรารัตน์ สุวรรณวัฒนา เรียบเรียง

ในส่วนของเขตชายแดนไทย-สภาพพม่า มีปัญหาความมั่นคงซึ่งมีผลกระทบต่อการค้าชาย แดน ซึ่งอาจกล่าวได้ว่ามีปัจจัยหลายประการกล่าวคือ

๑. ปัญหากลุ่มต่อต้านรัฐบาลพม่า ได้แก่ - กลุ่มรัฐบาลผสมแห่งชาติสหภาพพม่าเป็นการรวมตัวกันของสันนิบาตแห่งชาติเพื่อ ประชาธิปไตย พรรคประชาธิปไตยแห่งชาติและสมาชิกกลุ่มอิสระซึ่งเป็นกลุ่มการเมืองที่ต่อ ต้านรัฐบาลพม่า - กลุ่มนักศึกษาพม่าเป็นกลุ่มนักศึกษาที่หนีการกวาดล้างของรัฐบาลทหารพม่าและ เคลื่อนไหวกับ ชนกลุ่มน้อยตามแนวตะเข็บชายแดนไทยพม่า และนักศึกษาบางส่วนเข้ามาเคลื่อนไหวในประเทศ ไทย ทั้งในกรุงเทพและพื้นที่ชายแดน

๒. ปัญหาเกิดจากการสู้รบระหว่างชนกลุ่มน้อยกลุ่มต่างๆกับรัฐบาลทหารพม่า พื้นที่ชายแดนส่วนใหญ่ของไทยอยู่ติดกับรัฐต่างๆของสหภาพพม่า คือ รัฐฉาน รัฐคะฉิ่น รัฐกะเหรี่ยง และรัฐมอญ ซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อยของพม่า ชนกลุ่มน้อยที่สำคัญซึ่งทำการต่อสู้ กับรัฐบาลพม่าเพื่อแยกตัวออกจากสหภาพพม่าและตั้งเป็นรัฐอิสระมีดังนี้
- กลุ่มกองทัพเมืองไตหรือกลุ่มขุนส่า (Shan United Army : SUA) อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันกลุ่มขุนส่าได้วางอาวุธและมีข้อตกลงหยุดยิงกับรัฐบาลทหารพม่าแล้ว ภายหลังกลุ่มกองทัพเมืองไต มีผู้นำคนใหม่ คือ พันเอกเจ้ายอดศึกซึ่งท่านมีอุดมการณ์ทางการเมืองและ"ไม่"เกี่ยวข้องกับยาเสพติด
- กลุ่มพรรคมอญใหม่ (New Mon State Party)
- กลุ่มสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง (Karen Nation Union : KNU)
- กลุ่มพรรคก้าวหน้าแห่งชาติคะยา (Karenni National Progressive Party - KNPP)

กอง กำลังติดอาวุธชนกลุ่มน้อยชาวกะเหรี่ยงหรือกองกำลังแห่งชาติกะเหรี่ยง ส่งผลกระทบ ต่อความมั่นคงและความสัมพันธ์ของไทยกับพม่าที่สุด เนื่องจากรัฐบาลพม่าต้องการปราบปราม อย่างเด็ดขาด แต่ฐานการปฏิบัติการของชาวกะเหรี่ยงตั้งอยู่ติดชายแดนทางตะวันตกของไทย ทหารพม่าไม่สามารถกวาดล้างกองกำลังทหารกะเหรี่ยงได้ตามวัตถุประสงค์จนเป็น เหตุให้รัฐบาล พม่ากล่าวหาว่ารัฐบาลไทยให้การสนับสนุนชนกลุ่มน้อยชาวกะเหรี่ยง โดยรัฐไทยเป็นรัฐกันกระทบ รัฐบาลพม่าใช้ปัญหาชนกลุ่มน้อย ชาวกะเหรี่ยงเป็นเงื่อนไขในการเจรจาต่อรองในประเด็นการค้า ชายแดนไทย-พม่า และการลงทุนทั้งภาครัฐบาลและภาคเอกชนไทยด้วยการหน่วงการเจรจา หรือปิดด่านศุลกากรปิดด่านชักลากไม้ซุงในเขตพม่า ตลอดจนการให้สัมปทานป่าไม้ การประมง การทำเหมืองแร่ การเกษตร การท่องเที่ยวของภาคเอกชนไทย สหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยงได้จัดตั้งรัฐบาลกอตูเลขึ้นปกครองดูแลชาวกะเหรี่ยง มีพลเอกโบเมี้ยะเป็นผู้นำ อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันผลเอกโบเมี๊ยะเสียชีวิตแล้วและมีผู้นำคนใหม่ ขึ้นมาแทน กองทัพสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยงมีขีดความสามารถในการรบสูง มีศักยภาพทาง ทหารเหนือกว่าชนกลุ่มน้อยต่างๆ มีการจัดระเบียบการปกครองและการทหารอย่างมีแบบแผน - มีอุดมการณ์ในการสู้รบสูง เป็นที่เชื่อถือของชนกลุ่มน้อยต่างๆตลอดจนองค์ การระหว่างประเทศ ปัญหาการสู้รบระหว่างกองกำลังชนกลุ่มน้อยกับรัฐบาลทหารพม่า ส่งผลกระทบต่อประเทศไทยด้านความมั่นคง ด้านการป้องกันประเทศ ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ และความมั่นคงด้านสังคมจิตวิทยา นอกจากนี้ยังก่อให้เกิดปัญหาตามมาหลายประการ คือ
- ปัญหาการรุกล้ำอธิปไตย
- ปญหาความเสียหาอันเกิดจากการสู้รบ
- ปัญหาผู้อพบพหนีภัยสงครามหรือผู้พลัดถิ่น
- ปัญหาการค้าอาวุธสงคราม

๓. ปัญหาการผลิตและค้ายาเสพติด การค้้ายาเสพติดของกองกำลังของชนกลุ่มน้อยกระทบกระเทือนความมั่นคงของไทย เนื่องจากการต่อสู้เพื่อแย่งชิงผลประโยชน์จองกลุ่มผู้ผลิตและค้ายาเสพติด จนบางครั้งการต่อ สู้รุกล้ำเข้ามาในเขตไทย ยังผลให้ราษฏรไทยในพื้นที่นั้นได้รับความเดือดร้อนจากการสู้รบ กลุ่่มขุนส่าเป็นชนกลุ่มน้อยที่ีอิทธิพลในพื้นที่จังหวัดเชียงรายและ แม่ฮ่องสอน และเป็นชนกลุ่มน้อยที่มีอิทธิพลต่อความมั่นคงของไทยและสหภาพพม่า เนื่องจากเป็นกลุ่มทีี่ ผลิตและค้ายาเสพติดรายใหญ่ที่สุด นอกจากนี้ ยังมีชนกลุ่มน้อยที่มีการผลิตยาเสพติดอีก คือ กลุ่มว้าแดง ซึ่งปฏิบัติการอยู่ตามแนวพรม แดนไทยด้าน อ. แม่อาย จ. เชียงใหม่ อย่างไรก็ดี ปัจจุบันกลุ่มขุนส่าเจรจาหยุดยิงไม่สู้รบกับรัฐบาลทหารพม่าแล้ว แต่มีผู้นำ กองกำลังไทยใหญ่คนใหม่ คือ พันเอกเจ้ายอดศึก ซึ่งมีอุดมการณ์ทางการเมืองและไม่เกี่ยวข้อง กับยาเสพติด

๔. ปัญหาเขตแดนระหว่างไทย-พม่า ได้แก่ - ปัญหาบริเวณแม่น้ำปากจั่น หรือแม่่น้ำกระบุรี - ปัญหาบริเวณบ้านเจดีย์สามองค์ - ปัญหาบริเวณดอยลาง อ.แม่อาย จ.เชียงใหม่ - กรณีพิพาทเนิน ๔๙๑ อ.ท่าแซะ จ. ชุมพร - ปัญหาแนวพรมแดนส่วนที่เป็นแม่น้ำเมย ในเขตอ.แม่สอด จ.ตาก - ปัญหาแนวพรมแดนส่วนที่เป็นแม่น้ำสาย และแม่น้ำรวก ในเขอ.แม่สาย และอ.เชียงแสน จ.เชียงราย

๕. ปัญหาแรงงานพม่าลักลอบหนีเข้าเมืองโดยผิดกฏหมาย จากความยากลำบากทางเศรษฐกิจในพม่า ปัญหาสินค้าราคาแพง รายได้ต่ำ ปัญหาการ ว่างงาน ประกอบกับการจ้างการแรงงานไร้ฝีมือในประเทศไทย จึงทำให้ชาวพม่าและชนกลุ่มน้อย พากันหลบหนีเข้ามาหางานทำในประเทศไทยเป็นจำนวนมากกว่า ๕๐๐,๐๐๐ คน โดยลักลอบเข้ามทำงานในกิจการต่าางๆทั่วประเทศ ในระนอง กาญจนบุรี ตาก เชียงราย สมุทรปราการ สมุทรสาคร ภูเก็ตและกรุงเทพฯ แรงงานผิดกฏหมายจำนวนหลายแสนคนหรือนับล้านคนนี้ ได้สร้างปัญหาที่มีผลกระทบต่อสังคมไทยหลายประการ เช่น ปัญหาโรคติดต่อร้ายแรง ปัญหาอาชญากรรม ปัญหาการดูแลรักษาพยาบาล

อย่างไรก็ดี เราก็ไม่อาจพิจารณปัญหาดังกล่าวโดยละเลยประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนและมนุษยธรรมต่อแรงงานต่างด้าวและผู้หนีภัยสงครามจากพม่า
เพราะ ทุกคนเป็นมนุษย์และบุคคลตามนิยามของปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนแห่ง สหประชาชาติ ที่ต้องได้รับการคุ้มครองสิทธิต่างๆตามที่กฎบัตรรับรองแน่นอน รัฐไทยในฐานะที่มีพันธกรณีอยู่กับกฎบัตรสิทธิมนุษยชนย่อมมีหน้าที่ในการ คุ้มครองสิทธิมนุษยชและงดเว้นการละเมิดสิทธิมนุษยชนของแรงงานและผู้ลี้ภัย ข้ามชาติ

Also available at http://www.facebook.com/profile.php?id=100000631217534&sk=notes#!/note.php?note_id=480308046392


บทความอื่นๆจาก นิพนธ์ สุวรรณวัฒนา
 1. เจาะลึกด่านชายแดนไทย-เพื่อนบ้าน แม่สาย-ท่าขี้เหล็ก (Maesai-TaChilek)
 2. เจาะลึกด่านชายแดนไทยเพื่อนบ้าน สิงขร-มูด่อง
3. ยุทธศาสตร์การพัฒนาจุดผ่านแดน "บ้านผักกาด" และ "บ้านแหลม" อ.โป่งน้ำร้อน จ.จันทบุรี
4. โครงการจัดระบบเศรษฐกิจชายแดน
5.
 ความตกลงว่าด้วยการขนส่งทางถนนไทย-ลาว.
รายละเอียดหาเพิ่มเติมได้ที่ห้องสมุดน NIDA http://library1.nida.ac.th:8000/ipac20/ipac.jsp?session=131V994685JP1.134614&profile=main&logout=true&startover=true












การเปิดจุดผ่านแดนเพื่อการค้า บริเวณชายแดนไทย-สหภาพพม่า ตอนที่ I

การเปิดจุดผ่านแดนเพื่อการค้าชายแดนกับความมั่นคงของประเทศ บริเวณชายแดนไทย-สหภาพพม่า (Opening the Crossing Points for Thai-Myanmar cross-border trade, and Thai National Security)

นายนิพนธ์ สุวรรณวัฒนา (อดีต ผอ.ฝ่ายกฏหมายกรมศุลกากร) ข้อมูล
ภัทรารัตน์ สุวรรณวัฒนา เรียบเรียง



การ ค้าชายแดน (Border trade) เป็นกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติทางภูมิศาสตร์ เนื่องจาก ประเทศไทยมีพรมแดนติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้านถึง ๔ ประเทศ การติดต่อกัน ระหว่างคนไทยกับประชาชนในพื้นที่ใกล้เคียงย่อมต้องเกิดขึ้น มีการไปมาหาสู่กันระหว่าง ญาติมิตรที่อยู่คนละฝั่งเขตแดน และมีการติดต่อแลกเปลี่ยนสินค้าและซื้อขายสินค้าอุปโภค บริโภคในชีวิตประจำวันของคนในท้องถิ่น ซึ่งได้พัฒนาขึ้นเป็นการค้าระดับท้องถิ่นและการค้า ระหว่างประเทศ ดั่งนี้ การค้าชายแดนจึงเป็นลักษณะหนึ่งของความสัมพันธ์ระหว่างคนไทย กับคนในประเทศเพื่อนบ้านที่มีมาช้านานในลักษณะที่อำนวยประโยชน์แก่กันและกัน ทั้งใน ระดับท้องถิ่น คือ ประชาชนและพ่อค้าแถบชายแดน และระดับประเทศโดยพ่อค้าส่วนกลาง ตลอดจนผู้ผลิตสินค้า การค้าชายแดนโยงใยกับเศรษฐกิจของประเทศ ท้องถิ่นใดมีการค้าชาย แดนเป็นปรกติและสม่ำเสมอก็ยังให้เกิดความเจริญในท้องถิ่นนั้นนั้นและลดปัญหา การขาด แคลนเครื่องอุปโภคบริโภคระหว่างประเทศเพื่อนบ้าน นอกจากนี้ การค้าชายแดนยังทำให้เกิด การท่องเที่ยวและส่งเสริมความเข้าใจในวัฒนธรรมระหว่างคนแต่ละท้องที่อีกด้วย การค้าชายแดนมีทั้งในระบบและนอกระบบ

๑. การค้าชายแดนในระบบ คือการค้าที่มีการนำเข้า-ส่งออกโดยผ่านช่องทางที่ถูกต้องตามกฏหมาย กล่าวคือ มีการผ่านพิธีการศุลกากรโดยถูกต้องและอยู่ในความควบคุมของเจ้าหน้าที่่โดย ตลอด
๒. การค้าชายแดนนอกระบบ คือการค้าที่มีการนำเข้า-ส่งออกโดยมิได้ผ่านช่องทาง ที่ถูกต้องตาม กฏหมาย กล่าวคือ มิได้ผ่านพิธีศุลกากรโดยถูกต้องแต่เป็นการลักลอบนำ สินค้าเข้ามาหรือส่งสินค้า ออกไปโดยผิดกฏหมายโดยมีวัตถุประสงค์เช่น เพื่อการหลีกเลี่ยงและการประหยัดภาษี (Tax Evasion and Avoidance) หรือเพื่อหลีกเลี่ยงข้อห้ามและข้อจำกัดในการนำเข้า-ส่งออกต่างๆ ตามที่กฏหมายกำหนดไว้ เมื่อเป็นเช่นนี้ การค้านอกระบบจึงไม่ปรากฏในสถิติการนำเข้า-ส่งออกสินค้า นอกจากจะมี การจับกุมสินค้าชนิดนั้นๆ ทั้งนี้ มีคำกล่าวของอดีตเลขาธิการสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่ง ชาติว่าปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เศรษฐกิจของประเทศไทยเจริญด้วยอัตราสูง คือการค้าชายแดนโดยเฉพาะ อย่างยิ่งการค้าในลักษณะที่มีการลักลอบอย่างผิดกฏหมาย”

ดั่ง นี้ จะเห็นได้ว่า หากรัฐสามารถพัฒนาการค้าชายแดนจากนอกระบบให้อยู่ในระบบ ก็จะมีผลดีต่อเศรษฐกิจของประเทศไทย โดยประเทศเพื่อนบ้านจะเป็นส่วนสำคัญในการขจัด อุปสรรคในเรื่องน้ีและจะต้องมีการเจรจากันในระดับชาติ หากทำให้การค้านอกระบบเข้าสู่ใน ระบบได้ รัฐจะสามารถวางแผนเศรษฐกิจของชาติได้ดีขึ้น เพราะจะรู้ข้อมูลอุปสงค์และ อุปทานของสินค้านำเข้าและส่งออกชนิดต่างๆมากขึ้น รวมถึงผู้ประกอบการค้าก็จะวางแผน การค้าได้ถูกต้องและเกิดประโยชน์ต่อกิจการของตนเช่นกัน อย่างไรก็ดี  เจ้าหน้าที่ของรัฐต้องให้ความเห็นใจกับประชาชนด้วย เพราะอันที่จริง ก่อนการแบ่งเขตแดนชัดเจนของสิ่งที่เรียกว่า ‘รัฐ’ ทั้งในทางภูมิศาสตร์และจิตสำนึกนั้น ประชาชนในพื้นที่ต่างๆก็ตั้งถิ่นฐานกันมา มีการไปมาหาสู่ค้าขายเป็นปรกติโดยไม่ต้องมาเกี่ยวข้องกับเจ้าหน้าที่ ของ ‘รัฐ’ อยู่แล้ว ภายหลัง เมื่อมีการแบ่งเขตแดนโดยรัฐถึงเกิดสิ่งที่เรียกว่าการค้าใน-นอก “ระบบ” ตามมา ดังนั้น หากจะทำให้การค้าในระบบเข้ามาอยู่ในระบบก็ต้องทำอย่างค่อยเป็นค่อยไปและต้อง ประนีประนอมกับประชาชนบ้างเหมือนกัน

สาเหตุหนึ่งที่เอื้อ ให้เกิดการค้านอกระบบคือ การที่แต่ละประเทศมีอาณาเขตติดต่อ กันยาวมาก แต่ยังมีจุดผ่านแดนถาวรทางการค้าน้อยมาก การมีจุดผ่านแดนถาวรเพิ่มขึ้น จะทำให้การค้านอกระบบมาอยู่ในระบบได้ ทั้งนี้ จุดผ่านแดนเป็นช่องทางในการนำเข้า ส่งออกสินค้า ซึ่งประกอบด้วยจุดผ่านแดนชั่วคราว จุดผ่านแดนถาวรและจุดผ่อนปรนการค้า

๑. จุดผ่านแดนชั่วคราว (Temporary Crossing Point) - จุดผ่านแดนที่ทางราชการไทยเปิดให้มีการสัญจรไปมาของบุคคล และ/หรือ ยานพาหนะใน ห้วงเวลาที่แน่นอน โดยปรกติจะเป็นคราวๆไป โดยมีวัตถุประสงค์ เฉพาะและสิ้นสุดลง ตามห้วงเวลา - การเปิดจุดผ่านแดนชั่วคราวเป็นอำนาจของกระทรวงมหาดไทยที่จะประกาศเปิด โดยปรกติจะเสนอให้คณะอนุกรรมการพิจารณาเปิดจุดผ่านแดนของสำนักงานความ มั่นคงแห่งชาติเห็นชอบก่อน โดยรัฐมนตรีมหาดไทยใช้อำนาจตามพระราชบัญญัติคน เข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒

๒. จุดผ่านแดนถาวร (Permanent Crossing Point) - จุดที่รัฐบาลไทยและรัฐบาลของประเทศที่มีพรมแดนติดต่อกันประกาศเปิดให้มีการ สัญจร ไปมาทั้งบุคคลและสิ่งของ โดยทั่วไปจะมีการดำเนินการตรวจคนเข้าเมือง และพิธีการ ศุลกากรตามกฏหมายของทั้งสองประเทศ เป็นจุดที่มีการสัญจรสินค้าเข้า-ออก เป็นการทั่วไป - การประกาศเปิดจุผ่านแดนถาวร จะต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยใช้อำนาจตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกาศเปิดจุดผ่านแดนถาวร

๓. จุดผ่อนปรนการค้า (Check Point for Border Trade) - จุดที่กระทรวงมหาดไทยมอบอำนาจให้ผู้ว่าราชการจังหวัดชายแดนผ่อนปรนให้มีการ ค้า ขายบริเวณชายแดนในพื้นที่ และผู้ว่าราชการจังหวัดสามารถเปิดให้มีการค้าขาย และเปลี่ยนสินค้าเล็กๆน้อยๆที่จำเป็นต่อการอุปโภคบริโภคของประชาชนทั้งสอง ประเทศ - ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้มีอำนาจประกาศเปิดจุดผ่อนปรนการค้า ทั้งนี้ จะหารือกับ คณะอนุกรรมการพิจารณาเปิดจุดผ่านแดนของสภาความมั่นคงแห่งชาติหรือไม่ก็ได้ เรื่องจุดผ่อนปรนการค้าชายแดนนั้น สภาความมั่นคงแห่งชาติได้กำหนดเป็น นโยบายและแนวทางปฏิบัติการเปิดจุดผ่อนปรนการค้าชายแดนไว้ โดยสภาความมั่นคง แห่งชาติได้ประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเมื่อ ๑๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๐ มีมติการเปิดจุด ผ่อนปรนการค้าชายแดนลาว เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติและเป็น มาตรฐานเดียวกันเพื่อให้ จังหวัดชายแดนปฏิบัติ และในระยะต่อมาได้มีการเปิด จุดผ่อนปรนการค้าชายแดนด้าน กัมพูชาและพม่าและนำนโยบายและแนวทางปฏิบัติด้านลาวมาปรับใช้โดยอนุโลมตาม ความจำเป็นและเหมาะสม ต่อมาจุดผ่อนปรนการค้าได้พัฒนาให้สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจ ที่เปลี่ยนแปลงไปจากมูลค่าการซื้อขายแลกเปลี่ยน จำนวนไม่เกิน ๕๐๐,๐๐๐ บาทต่อคน ต่อวัน โดยส่งเสริมให้ขยายวงเงินมูลค่าการค้าชายแดนสำหรับบริษัทจดทะเบียนให้เป็น ไปโดยไม่จำกัดจำนวน สำหรับการค้าของประชาชน ณ จุดผ่อนปรนการค้าบริเวณชายแดน คงเป็นไปตามเดิม คือ ๕๐๐,๐๐๐ บาท ต่อคนต่อวัน
อย่างไรก็ดี การเปิดจุดผ่านแดนการเปิดจุดผ่านแดนเพื่อการค้าชายแดนนั้น ไม่ว่าจะเป็นการ เปิดจุดผ่อนปรน การเปิด “จุดผ่านแดนชั่วคราว” หรือแม้กระ ทั่งการเปิดจุดผ่านแดนถาวร มิอาจทำโดยปราศจากการพิจารณาถึงประเด็นอื่นๆ หนึ่งในประเด็นที่สำคัญนั้น คือเรื่องการค้าชายแดนกับความมั่นคงของประเทศ กล่าวคือ การดูแลสถานการณ์ความมั่นคงในพื้นที่ และการรักษาความปลอดภัยของหน่วยความมั่นคงในพื้นที่ และเนื่องจากพื้นที่ชายแดนที่ติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน ด้านสหภาพพม่า สปป.ลาว และกัมพูชานั้น ยังคงอยู่ภายใต้กฏอัยการศึก ตามพระราชบัญญัติกฏ อัยการศึก พุทธศักราช ๒๕๔๗ ซึ่งได้แก้ไขเพิ่มเติมแล้ว ดังนั้น การใช้อำนาจตามกฏหมายศุลกากร ในพื้นที่ต้องมีการประสานการปฏิบัติกับหน่วยงานความมั่นคงในพื้นที่เสียก่อน เหตุเพราะว่าในเขตพื้นที่ที่มีการประกาศกฏอัยการศึกนั้น อำนาจทหารเหนือกว่าอำนาจของพลเรือน ดังที่ บัญญัติไว้ในมาตรา ๖ แห่งพระราชบัญญัติกฏอัยการศึก พ.ศ. ๒๔๕๗ (the Martial Law Act B.E.2457)

Also available at http://www.facebook.com/note.php?note_id=480296331392

บทความอื่นๆจาก นิพนธ์ สุวรรณวัฒนา
 1. เจาะลึกด่านชายแดนไทย-เพื่อนบ้าน แม่สาย-ท่าขี้เหล็ก (Maesai-TaChilek)
 2. เจาะลึกด่านชายแดนไทยเพื่อนบ้าน สิงขร-มูด่อง
3. ยุทธศาสตร์การพัฒนาจุดผ่านแดน "บ้านผักกาด" และ "บ้านแหลม" อ.โป่งน้ำร้อน จ.จันทบุรี
4. โครงการจัดระบบเศรษฐกิจชายแดน
5.
 ความตกลงว่าด้วยการขนส่งทางถนนไทย-ลาว.
รายละเอียดหาเพิ่มเติมได้ที่ห้องสมุด NIDA http://library1.nida.ac.th:8000/ipac20/ipac.jsp?session=131V994685JP1.134614&profile=main&logout=true&startover=true
















Upanayana, domestic ritual, a response to social change into Class-based society

Abstract

Ancient Vedic society went through many changes, making a transition from a semi-nomadic, clan-based system of chiefdoms to an increasingly sedentary society with a clear division of labour, greater reliance on agriculture, and monarchies. This parallels the establishment and growth of settlements through the first millennium BCE in the Gangetic plains with the emergence of cities and states. These changes had tremendous effects on Vedic society. This essay will explore the meaning of certain aspects of Vedic ritual in relation to these social changes. It will argue that the Upanayana, along with other life cycle rituals, came to serve the function of maintaining cohesion within the elite castes, as well as excluding from this closed society those from the lower orders.

By Pattrarat Suwanwatthana (ภัทรารัตน์ สุวรรณวัฒนา), MA Study of Religions 2008, The School of Oriental and African Studies, University of London

See PDF file at http://www.openbase.in.th/node/13487