พุทธคัมภีร์ สถิตย์ไว้ซึ่งจิตวิญญาณอันทรงพลังแห่งพุทธศาสนา และด้วยธรรมชาติที่ไม่ผูกขาดการถ่ายทอด “พุทธวัจนะ” ไว้กับภาษาใด คำสอนในพระพุทธศาสนาจึงรุ่มรวยหลากรส ตอบโจทย์ความแตกต่างแห่งสรรพชีวิตผู้รับธรรม หากไม่นับความสูญหายหลายศตวรรษแห่งการถ่ายทอดพระธรรมคำสอน และหากไม่นับคัมภีร์อันเป็นเอกเทศซึ่งถูกพบในเนปาลหรือที่ถูกกู้คืนในเอเชีย กลาง สิ่งซึ่งตกทอดถึงเราก็คือชุมนุมคัมภีร์อันเลอเลิศ สามแบบฉบับ กล่าวคือ;
๑) พระไตรปิฏกซึ่งรจนาด้วยภาษาบาลี
๒) ซานชาง (三仓 - San Tsang) ในภาษาจีน
๓) กันจูร์ (བཀའ་འགྱུར། - Kngyur) ในภาษาธิเบต
พระไตรปิฏกฉบับบาลีนั้นถือว่าเก่าแก่ที่สุดในฐานะชุมนุมคัมภีร์ ทั้งยังถือเป็นตัวแทนพุทธธรรมคำสอนตามตำหรับพระเวทยุคกลาง ซึ่งได้รับการรักษาและเติมแต่งโดยสำนักหินยานยุคต้นๆและได้รับการถ่ายทอดปาก ต่อปากจากอินเดียสู่ศรีลังกา อันเป็นดินแดนเบื้องปลายแห่งการจดจารพุทธธรรมลงเป็นอักขระ พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีมีลักษณะเหมือนคัมภีร์ฉบับเทียบเคียงในภาษาสันสกฤต กล่าวคือเป็น ‘ตระกร้าทั้งสาม’ ซึ่งกอปรด้วย ๑) พระวินัยหรือกฏของสงฆ์ ๒) พระสุตตันตหรือบทสนทนา และ ๓) พระอภิธรรมหรือ ‘คำสอนเสริม’ โดย ‘ตระกร้า’ ทั้งสามหมวดนี้ได้รับความเชื่อถือทั้งในศรีลังกาและในเมืองพุทธแถบเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้อย่างพม่า ไทย กัมพูชา และลาว เพราะเมืองพุทธแถบนี้มีความเชื่อกันตามประเพณีว่า พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีเท่านั้นที่สมบูรณ์และน่าวางใจ เนื่องด้วยเป็นฉบับที่พระสงฆ์เล่าท่องสืบต่อกันมานับแต่ครั้งพระเจ้าอโศก แห่งจักรวรรดิโมริยะตราบจนปัจจุบัน
พระไตรปิฏฉบับภาษาจีนหรือซานชาง (三仓) ซึ่งแปลตรงตัวว่า ‘คลังทั้งสาม’ นั้นเป็นแต่เพียงการรวบรวมบทแปล แต่หาใช่่คัมภีร์ต้นฉบับไม่ หลักใหญ่ใจความของพระพุทธศาสนาแทรกซึมสู่จีนผ่านเส้นทางสายไหมตั้งแต่ช่วง ศตวรรษที่ ๑ อันเป็นเวลาที่พระสูตรสี่สิบสองบทถือกำเนิดขึ้น พระสูตรเหล่านี้ได้รับการส่งทอดไปอีกกว่าสิบสองศตวรรษ ในช่วงที่นักวิชาการจีนและอินเดียนับร้อยพากันแปลคัมภีร์จากภาษาสันสกฤต บาลี ธิเบตและจากแหล่งอื่นๆ ดั่งนี้ ผลงานการแปลนับพันจึงผลิบาน โดยอินเดียยอมเรียกขานว่าเป็นศาสนคัมภีร์ ภายหลัง ระหว่างคริสตศักราช ๕๑๘ ถึง ๑๗๓๗ พุทธคัมภีร์ต่างๆทั้งฉบับลายมือและฉบับพิมพ์ออกสู่สายตามหาชนผ่านพระบัญชา ของบรรดาจักรพรรดิผู้เรืองอำนาจ ทั้งนี้ จักรพรรดิผู้ก่อตั้งราชวงศ์ถัง (唐代) ทรงมีพระบัญชาให้เผยโฉมพุทธคัมภีร์ฉบับพิมพ์เป็นครั้งแรก ในคริสตศักราช ๙๗๑
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น