การเปิดจุดผ่านแดนเพื่อการค้าชายแดนกับความมั่นคงของประเทศ บริเวณชายแดนไทย-สหภาพพม่า (Opening the Crossing Points for Thai-Myanmar cross-border trade, and Thai National Security)
นายนิพนธ์ สุวรรณวัฒนา (อดีต ผอ.ฝ่ายกฏหมายกรมศุลกากร) ข้อมูล
ภัทรารัตน์ สุวรรณวัฒนา เรียบเรียง
ภัทรารัตน์ สุวรรณวัฒนา เรียบเรียง
การ ค้าชายแดน (Border trade) เป็นกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติทางภูมิศาสตร์ เนื่องจาก ประเทศไทยมีพรมแดนติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้านถึง ๔ ประเทศ การติดต่อกัน ระหว่างคนไทยกับประชาชนในพื้นที่ใกล้เคียงย่อมต้องเกิดขึ้น มีการไปมาหาสู่กันระหว่าง ญาติมิตรที่อยู่คนละฝั่งเขตแดน และมีการติดต่อแลกเปลี่ยนสินค้าและซื้อขายสินค้าอุปโภค บริโภคในชีวิตประจำวันของคนในท้องถิ่น ซึ่งได้พัฒนาขึ้นเป็นการค้าระดับท้องถิ่นและการค้า ระหว่างประเทศ ดั่งนี้ การค้าชายแดนจึงเป็นลักษณะหนึ่งของความสัมพันธ์ระหว่างคนไทย กับคนในประเทศเพื่อนบ้านที่มีมาช้านานในลักษณะที่อำนวยประโยชน์แก่กันและกัน ทั้งใน ระดับท้องถิ่น คือ ประชาชนและพ่อค้าแถบชายแดน และระดับประเทศโดยพ่อค้าส่วนกลาง ตลอดจนผู้ผลิตสินค้า การค้าชายแดนโยงใยกับเศรษฐกิจของประเทศ ท้องถิ่นใดมีการค้าชาย แดนเป็นปรกติและสม่ำเสมอก็ยังให้เกิดความเจริญในท้องถิ่นนั้นนั้นและลดปัญหา การขาด แคลนเครื่องอุปโภคบริโภคระหว่างประเทศเพื่อนบ้าน นอกจากนี้ การค้าชายแดนยังทำให้เกิด การท่องเที่ยวและส่งเสริมความเข้าใจในวัฒนธรรมระหว่างคนแต่ละท้องที่อีกด้วย การค้าชายแดนมีทั้งในระบบและนอกระบบ
๑. การค้าชายแดนในระบบ คือการค้าที่มีการนำเข้า-ส่งออกโดยผ่านช่องทางที่ถูกต้องตามกฏหมาย กล่าวคือ มีการผ่านพิธีการศุลกากรโดยถูกต้องและอยู่ในความควบคุมของเจ้าหน้าที่่โดย ตลอด
๒. การค้าชายแดนนอกระบบ คือการค้าที่มีการนำเข้า-ส่งออกโดยมิได้ผ่านช่องทาง ที่ถูกต้องตาม กฏหมาย กล่าวคือ มิได้ผ่านพิธีศุลกากรโดยถูกต้องแต่เป็นการลักลอบนำ สินค้าเข้ามาหรือส่งสินค้า ออกไปโดยผิดกฏหมายโดยมีวัตถุประสงค์เช่น เพื่อการหลีกเลี่ยงและการประหยัดภาษี (Tax Evasion and Avoidance) หรือเพื่อหลีกเลี่ยงข้อห้ามและข้อจำกัดในการนำเข้า-ส่งออกต่างๆ ตามที่กฏหมายกำหนดไว้ เมื่อเป็นเช่นนี้ การค้านอกระบบจึงไม่ปรากฏในสถิติการนำเข้า-ส่งออกสินค้า นอกจากจะมี การจับกุมสินค้าชนิดนั้นๆ ทั้งนี้ มีคำกล่าวของอดีตเลขาธิการสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่ง ชาติว่าปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เศรษฐกิจของประเทศไทยเจริญด้วยอัตราสูง คือการค้าชายแดนโดยเฉพาะ อย่างยิ่งการค้าในลักษณะที่มีการลักลอบอย่างผิดกฏหมาย”
ดั่ง นี้ จะเห็นได้ว่า หากรัฐสามารถพัฒนาการค้าชายแดนจากนอกระบบให้อยู่ในระบบ ก็จะมีผลดีต่อเศรษฐกิจของประเทศไทย โดยประเทศเพื่อนบ้านจะเป็นส่วนสำคัญในการขจัด อุปสรรคในเรื่องน้ีและจะต้องมีการเจรจากันในระดับชาติ หากทำให้การค้านอกระบบเข้าสู่ใน ระบบได้ รัฐจะสามารถวางแผนเศรษฐกิจของชาติได้ดีขึ้น เพราะจะรู้ข้อมูลอุปสงค์และ อุปทานของสินค้านำเข้าและส่งออกชนิดต่างๆมากขึ้น รวมถึงผู้ประกอบการค้าก็จะวางแผน การค้าได้ถูกต้องและเกิดประโยชน์ต่อกิจการของตนเช่นกัน อย่างไรก็ดี เจ้าหน้าที่ของรัฐต้องให้ความเห็นใจกับประชาชนด้วย เพราะอันที่จริง ก่อนการแบ่งเขตแดนชัดเจนของสิ่งที่เรียกว่า ‘รัฐ’ ทั้งในทางภูมิศาสตร์และจิตสำนึกนั้น ประชาชนในพื้นที่ต่างๆก็ตั้งถิ่นฐานกันมา มีการไปมาหาสู่ค้าขายเป็นปรกติโดยไม่ต้องมาเกี่ยวข้องกับเจ้าหน้าที่ ของ ‘รัฐ’ อยู่แล้ว ภายหลัง เมื่อมีการแบ่งเขตแดนโดยรัฐถึงเกิดสิ่งที่เรียกว่าการค้าใน-นอก “ระบบ” ตามมา ดังนั้น หากจะทำให้การค้าในระบบเข้ามาอยู่ในระบบก็ต้องทำอย่างค่อยเป็นค่อยไปและต้อง ประนีประนอมกับประชาชนบ้างเหมือนกัน
สาเหตุหนึ่งที่เอื้อ ให้เกิดการค้านอกระบบคือ การที่แต่ละประเทศมีอาณาเขตติดต่อ กันยาวมาก แต่ยังมีจุดผ่านแดนถาวรทางการค้าน้อยมาก การมีจุดผ่านแดนถาวรเพิ่มขึ้น จะทำให้การค้านอกระบบมาอยู่ในระบบได้ ทั้งนี้ จุดผ่านแดนเป็นช่องทางในการนำเข้า ส่งออกสินค้า ซึ่งประกอบด้วยจุดผ่านแดนชั่วคราว จุดผ่านแดนถาวรและจุดผ่อนปรนการค้า
๑. จุดผ่านแดนชั่วคราว (Temporary Crossing Point) - จุดผ่านแดนที่ทางราชการไทยเปิดให้มีการสัญจรไปมาของบุคคล และ/หรือ ยานพาหนะใน ห้วงเวลาที่แน่นอน โดยปรกติจะเป็นคราวๆไป โดยมีวัตถุประสงค์ เฉพาะและสิ้นสุดลง ตามห้วงเวลา - การเปิดจุดผ่านแดนชั่วคราวเป็นอำนาจของกระทรวงมหาดไทยที่จะประกาศเปิด โดยปรกติจะเสนอให้คณะอนุกรรมการพิจารณาเปิดจุดผ่านแดนของสำนักงานความ มั่นคงแห่งชาติเห็นชอบก่อน โดยรัฐมนตรีมหาดไทยใช้อำนาจตามพระราชบัญญัติคน เข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒
๒. จุดผ่านแดนถาวร (Permanent Crossing Point) - จุดที่รัฐบาลไทยและรัฐบาลของประเทศที่มีพรมแดนติดต่อกันประกาศเปิดให้มีการ สัญจร ไปมาทั้งบุคคลและสิ่งของ โดยทั่วไปจะมีการดำเนินการตรวจคนเข้าเมือง และพิธีการ ศุลกากรตามกฏหมายของทั้งสองประเทศ เป็นจุดที่มีการสัญจรสินค้าเข้า-ออก เป็นการทั่วไป - การประกาศเปิดจุผ่านแดนถาวร จะต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยใช้อำนาจตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกาศเปิดจุดผ่านแดนถาวร
๓. จุดผ่อนปรนการค้า (Check Point for Border Trade) - จุดที่กระทรวงมหาดไทยมอบอำนาจให้ผู้ว่าราชการจังหวัดชายแดนผ่อนปรนให้มีการ ค้า ขายบริเวณชายแดนในพื้นที่ และผู้ว่าราชการจังหวัดสามารถเปิดให้มีการค้าขาย และเปลี่ยนสินค้าเล็กๆน้อยๆที่จำเป็นต่อการอุปโภคบริโภคของประชาชนทั้งสอง ประเทศ - ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้มีอำนาจประกาศเปิดจุดผ่อนปรนการค้า ทั้งนี้ จะหารือกับ คณะอนุกรรมการพิจารณาเปิดจุดผ่านแดนของสภาความมั่นคงแห่งชาติหรือไม่ก็ได้ เรื่องจุดผ่อนปรนการค้าชายแดนนั้น สภาความมั่นคงแห่งชาติได้กำหนดเป็น นโยบายและแนวทางปฏิบัติการเปิดจุดผ่อนปรนการค้าชายแดนไว้ โดยสภาความมั่นคง แห่งชาติได้ประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเมื่อ ๑๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๐ มีมติการเปิดจุด ผ่อนปรนการค้าชายแดนลาว เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติและเป็น มาตรฐานเดียวกันเพื่อให้ จังหวัดชายแดนปฏิบัติ และในระยะต่อมาได้มีการเปิด จุดผ่อนปรนการค้าชายแดนด้าน กัมพูชาและพม่าและนำนโยบายและแนวทางปฏิบัติด้านลาวมาปรับใช้โดยอนุโลมตาม ความจำเป็นและเหมาะสม ต่อมาจุดผ่อนปรนการค้าได้พัฒนาให้สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจ ที่เปลี่ยนแปลงไปจากมูลค่าการซื้อขายแลกเปลี่ยน จำนวนไม่เกิน ๕๐๐,๐๐๐ บาทต่อคน ต่อวัน โดยส่งเสริมให้ขยายวงเงินมูลค่าการค้าชายแดนสำหรับบริษัทจดทะเบียนให้เป็น ไปโดยไม่จำกัดจำนวน สำหรับการค้าของประชาชน ณ จุดผ่อนปรนการค้าบริเวณชายแดน คงเป็นไปตามเดิม คือ ๕๐๐,๐๐๐ บาท ต่อคนต่อวัน
อย่างไรก็ดี การเปิดจุดผ่านแดนการเปิดจุดผ่านแดนเพื่อการค้าชายแดนนั้น ไม่ว่าจะเป็นการ เปิดจุดผ่อนปรน การเปิด “จุดผ่านแดนชั่วคราว” หรือแม้กระ ทั่งการเปิดจุดผ่านแดนถาวร มิอาจทำโดยปราศจากการพิจารณาถึงประเด็นอื่นๆ หนึ่งในประเด็นที่สำคัญนั้น คือเรื่องการค้าชายแดนกับความมั่นคงของประเทศ กล่าวคือ การดูแลสถานการณ์ความมั่นคงในพื้นที่ และการรักษาความปลอดภัยของหน่วยความมั่นคงในพื้นที่ และเนื่องจากพื้นที่ชายแดนที่ติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน ด้านสหภาพพม่า สปป.ลาว และกัมพูชานั้น ยังคงอยู่ภายใต้กฏอัยการศึก ตามพระราชบัญญัติกฏ อัยการศึก พุทธศักราช ๒๕๔๗ ซึ่งได้แก้ไขเพิ่มเติมแล้ว ดังนั้น การใช้อำนาจตามกฏหมายศุลกากร ในพื้นที่ต้องมีการประสานการปฏิบัติกับหน่วยงานความมั่นคงในพื้นที่เสียก่อน เหตุเพราะว่าในเขตพื้นที่ที่มีการประกาศกฏอัยการศึกนั้น อำนาจทหารเหนือกว่าอำนาจของพลเรือน ดังที่ บัญญัติไว้ในมาตรา ๖ แห่งพระราชบัญญัติกฏอัยการศึก พ.ศ. ๒๔๕๗ (the Martial Law Act B.E.2457)
Also available at http://www.facebook.com/note.php?note_id=480296331392
บทความอื่นๆจาก นิพนธ์ สุวรรณวัฒนา
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น