วันจันทร์ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

การเปิดจุดผ่านแดนเพื่อการค้า บริเวณชายแดนไทย-สหภาพพม่า ตอนที่ II

ปัญหาความมั่นคงซึ่งมีผลกระทบต่อการค้าชายแดนไทย-สภาพพม่า
(The security problems affecting Thai-Myanmar cross-border trade)

นายนิพนธ์ สุวรรณวัฒนา (อดีต ผอ.ฝ่ายกฏหมายกรมศุลกากร) ข้อมูล
ภัทรารัตน์ สุวรรณวัฒนา เรียบเรียง

ในส่วนของเขตชายแดนไทย-สภาพพม่า มีปัญหาความมั่นคงซึ่งมีผลกระทบต่อการค้าชาย แดน ซึ่งอาจกล่าวได้ว่ามีปัจจัยหลายประการกล่าวคือ

๑. ปัญหากลุ่มต่อต้านรัฐบาลพม่า ได้แก่ - กลุ่มรัฐบาลผสมแห่งชาติสหภาพพม่าเป็นการรวมตัวกันของสันนิบาตแห่งชาติเพื่อ ประชาธิปไตย พรรคประชาธิปไตยแห่งชาติและสมาชิกกลุ่มอิสระซึ่งเป็นกลุ่มการเมืองที่ต่อ ต้านรัฐบาลพม่า - กลุ่มนักศึกษาพม่าเป็นกลุ่มนักศึกษาที่หนีการกวาดล้างของรัฐบาลทหารพม่าและ เคลื่อนไหวกับ ชนกลุ่มน้อยตามแนวตะเข็บชายแดนไทยพม่า และนักศึกษาบางส่วนเข้ามาเคลื่อนไหวในประเทศ ไทย ทั้งในกรุงเทพและพื้นที่ชายแดน

๒. ปัญหาเกิดจากการสู้รบระหว่างชนกลุ่มน้อยกลุ่มต่างๆกับรัฐบาลทหารพม่า พื้นที่ชายแดนส่วนใหญ่ของไทยอยู่ติดกับรัฐต่างๆของสหภาพพม่า คือ รัฐฉาน รัฐคะฉิ่น รัฐกะเหรี่ยง และรัฐมอญ ซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อยของพม่า ชนกลุ่มน้อยที่สำคัญซึ่งทำการต่อสู้ กับรัฐบาลพม่าเพื่อแยกตัวออกจากสหภาพพม่าและตั้งเป็นรัฐอิสระมีดังนี้
- กลุ่มกองทัพเมืองไตหรือกลุ่มขุนส่า (Shan United Army : SUA) อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันกลุ่มขุนส่าได้วางอาวุธและมีข้อตกลงหยุดยิงกับรัฐบาลทหารพม่าแล้ว ภายหลังกลุ่มกองทัพเมืองไต มีผู้นำคนใหม่ คือ พันเอกเจ้ายอดศึกซึ่งท่านมีอุดมการณ์ทางการเมืองและ"ไม่"เกี่ยวข้องกับยาเสพติด
- กลุ่มพรรคมอญใหม่ (New Mon State Party)
- กลุ่มสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง (Karen Nation Union : KNU)
- กลุ่มพรรคก้าวหน้าแห่งชาติคะยา (Karenni National Progressive Party - KNPP)

กอง กำลังติดอาวุธชนกลุ่มน้อยชาวกะเหรี่ยงหรือกองกำลังแห่งชาติกะเหรี่ยง ส่งผลกระทบ ต่อความมั่นคงและความสัมพันธ์ของไทยกับพม่าที่สุด เนื่องจากรัฐบาลพม่าต้องการปราบปราม อย่างเด็ดขาด แต่ฐานการปฏิบัติการของชาวกะเหรี่ยงตั้งอยู่ติดชายแดนทางตะวันตกของไทย ทหารพม่าไม่สามารถกวาดล้างกองกำลังทหารกะเหรี่ยงได้ตามวัตถุประสงค์จนเป็น เหตุให้รัฐบาล พม่ากล่าวหาว่ารัฐบาลไทยให้การสนับสนุนชนกลุ่มน้อยชาวกะเหรี่ยง โดยรัฐไทยเป็นรัฐกันกระทบ รัฐบาลพม่าใช้ปัญหาชนกลุ่มน้อย ชาวกะเหรี่ยงเป็นเงื่อนไขในการเจรจาต่อรองในประเด็นการค้า ชายแดนไทย-พม่า และการลงทุนทั้งภาครัฐบาลและภาคเอกชนไทยด้วยการหน่วงการเจรจา หรือปิดด่านศุลกากรปิดด่านชักลากไม้ซุงในเขตพม่า ตลอดจนการให้สัมปทานป่าไม้ การประมง การทำเหมืองแร่ การเกษตร การท่องเที่ยวของภาคเอกชนไทย สหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยงได้จัดตั้งรัฐบาลกอตูเลขึ้นปกครองดูแลชาวกะเหรี่ยง มีพลเอกโบเมี้ยะเป็นผู้นำ อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันผลเอกโบเมี๊ยะเสียชีวิตแล้วและมีผู้นำคนใหม่ ขึ้นมาแทน กองทัพสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยงมีขีดความสามารถในการรบสูง มีศักยภาพทาง ทหารเหนือกว่าชนกลุ่มน้อยต่างๆ มีการจัดระเบียบการปกครองและการทหารอย่างมีแบบแผน - มีอุดมการณ์ในการสู้รบสูง เป็นที่เชื่อถือของชนกลุ่มน้อยต่างๆตลอดจนองค์ การระหว่างประเทศ ปัญหาการสู้รบระหว่างกองกำลังชนกลุ่มน้อยกับรัฐบาลทหารพม่า ส่งผลกระทบต่อประเทศไทยด้านความมั่นคง ด้านการป้องกันประเทศ ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ และความมั่นคงด้านสังคมจิตวิทยา นอกจากนี้ยังก่อให้เกิดปัญหาตามมาหลายประการ คือ
- ปัญหาการรุกล้ำอธิปไตย
- ปญหาความเสียหาอันเกิดจากการสู้รบ
- ปัญหาผู้อพบพหนีภัยสงครามหรือผู้พลัดถิ่น
- ปัญหาการค้าอาวุธสงคราม

๓. ปัญหาการผลิตและค้ายาเสพติด การค้้ายาเสพติดของกองกำลังของชนกลุ่มน้อยกระทบกระเทือนความมั่นคงของไทย เนื่องจากการต่อสู้เพื่อแย่งชิงผลประโยชน์จองกลุ่มผู้ผลิตและค้ายาเสพติด จนบางครั้งการต่อ สู้รุกล้ำเข้ามาในเขตไทย ยังผลให้ราษฏรไทยในพื้นที่นั้นได้รับความเดือดร้อนจากการสู้รบ กลุ่่มขุนส่าเป็นชนกลุ่มน้อยที่ีอิทธิพลในพื้นที่จังหวัดเชียงรายและ แม่ฮ่องสอน และเป็นชนกลุ่มน้อยที่มีอิทธิพลต่อความมั่นคงของไทยและสหภาพพม่า เนื่องจากเป็นกลุ่มทีี่ ผลิตและค้ายาเสพติดรายใหญ่ที่สุด นอกจากนี้ ยังมีชนกลุ่มน้อยที่มีการผลิตยาเสพติดอีก คือ กลุ่มว้าแดง ซึ่งปฏิบัติการอยู่ตามแนวพรม แดนไทยด้าน อ. แม่อาย จ. เชียงใหม่ อย่างไรก็ดี ปัจจุบันกลุ่มขุนส่าเจรจาหยุดยิงไม่สู้รบกับรัฐบาลทหารพม่าแล้ว แต่มีผู้นำ กองกำลังไทยใหญ่คนใหม่ คือ พันเอกเจ้ายอดศึก ซึ่งมีอุดมการณ์ทางการเมืองและไม่เกี่ยวข้อง กับยาเสพติด

๔. ปัญหาเขตแดนระหว่างไทย-พม่า ได้แก่ - ปัญหาบริเวณแม่น้ำปากจั่น หรือแม่่น้ำกระบุรี - ปัญหาบริเวณบ้านเจดีย์สามองค์ - ปัญหาบริเวณดอยลาง อ.แม่อาย จ.เชียงใหม่ - กรณีพิพาทเนิน ๔๙๑ อ.ท่าแซะ จ. ชุมพร - ปัญหาแนวพรมแดนส่วนที่เป็นแม่น้ำเมย ในเขตอ.แม่สอด จ.ตาก - ปัญหาแนวพรมแดนส่วนที่เป็นแม่น้ำสาย และแม่น้ำรวก ในเขอ.แม่สาย และอ.เชียงแสน จ.เชียงราย

๕. ปัญหาแรงงานพม่าลักลอบหนีเข้าเมืองโดยผิดกฏหมาย จากความยากลำบากทางเศรษฐกิจในพม่า ปัญหาสินค้าราคาแพง รายได้ต่ำ ปัญหาการ ว่างงาน ประกอบกับการจ้างการแรงงานไร้ฝีมือในประเทศไทย จึงทำให้ชาวพม่าและชนกลุ่มน้อย พากันหลบหนีเข้ามาหางานทำในประเทศไทยเป็นจำนวนมากกว่า ๕๐๐,๐๐๐ คน โดยลักลอบเข้ามทำงานในกิจการต่าางๆทั่วประเทศ ในระนอง กาญจนบุรี ตาก เชียงราย สมุทรปราการ สมุทรสาคร ภูเก็ตและกรุงเทพฯ แรงงานผิดกฏหมายจำนวนหลายแสนคนหรือนับล้านคนนี้ ได้สร้างปัญหาที่มีผลกระทบต่อสังคมไทยหลายประการ เช่น ปัญหาโรคติดต่อร้ายแรง ปัญหาอาชญากรรม ปัญหาการดูแลรักษาพยาบาล

อย่างไรก็ดี เราก็ไม่อาจพิจารณปัญหาดังกล่าวโดยละเลยประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนและมนุษยธรรมต่อแรงงานต่างด้าวและผู้หนีภัยสงครามจากพม่า
เพราะ ทุกคนเป็นมนุษย์และบุคคลตามนิยามของปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนแห่ง สหประชาชาติ ที่ต้องได้รับการคุ้มครองสิทธิต่างๆตามที่กฎบัตรรับรองแน่นอน รัฐไทยในฐานะที่มีพันธกรณีอยู่กับกฎบัตรสิทธิมนุษยชนย่อมมีหน้าที่ในการ คุ้มครองสิทธิมนุษยชและงดเว้นการละเมิดสิทธิมนุษยชนของแรงงานและผู้ลี้ภัย ข้ามชาติ

Also available at http://www.facebook.com/profile.php?id=100000631217534&sk=notes#!/note.php?note_id=480308046392


บทความอื่นๆจาก นิพนธ์ สุวรรณวัฒนา
 1. เจาะลึกด่านชายแดนไทย-เพื่อนบ้าน แม่สาย-ท่าขี้เหล็ก (Maesai-TaChilek)
 2. เจาะลึกด่านชายแดนไทยเพื่อนบ้าน สิงขร-มูด่อง
3. ยุทธศาสตร์การพัฒนาจุดผ่านแดน "บ้านผักกาด" และ "บ้านแหลม" อ.โป่งน้ำร้อน จ.จันทบุรี
4. โครงการจัดระบบเศรษฐกิจชายแดน
5.
 ความตกลงว่าด้วยการขนส่งทางถนนไทย-ลาว.
รายละเอียดหาเพิ่มเติมได้ที่ห้องสมุดน NIDA http://library1.nida.ac.th:8000/ipac20/ipac.jsp?session=131V994685JP1.134614&profile=main&logout=true&startover=true












ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น