บรรยายเรื่องศีลโพธิสัตว์เป็นภาษาธิเบต โดย กุงกา ซังโป ริมโปเช
แปลเป็นภาษาไทยโดย อาจารย์ รศ. ดร. กฤษดาวรรณ หงศ์ลดารมภ์ ประธานมูลนิธิพันดารา
ภัทรารัตน์ สุวรรณวัฒนา บันทึก
ขอให้ข้อบันทึกเป็นประโยชน์และแรงบันดาลใจสำหรับทุกคน และขอให้กุศลทั้งหมดต่อทุกท่าน
การเปลี่ยนจิตใจตนให้มีจิตแบบโพธิสัตว์ คือ ให้เรานึกถึงผู้อื่นเป็นหลัก เพราะปรกติเราจะนึกถึงแต่ตัวเองเป็นหลัก
การมีโพธิจิตมี ๒ แบบ คือ ในสมมุติสัจ และปรมัตถสัจ
การเป็นโพธิสัตว์ นั้นเราต้องทำตนให้เป็นที่ควรค่าแก่การบูชา โดย เป็นไปได้สองแบบคือ
๑ โดยการอธิษฐานจิต ให้สรรพสัตว์ทั้งหลายเข้าถึงสัมมาสัมโพธิญาณ
๒ ลงมือกระทำโดยการรับใช้สรรพสัตว์
โพธิสัตว์มีสามแบบ คือ
๑. เป็นแบบพระราชา คือ พ้นทุกข์ก่อนเพื่อกลับมาช่วยให้สรรพสัตว์พ้นทุกขฺ
๒. เป็นแบบคนพายเรือ คือ ไปพร้อมกับผู้โดยสาร
๓. เป็นแบบคนเลี้ยงแกะหรือจามรี คือ ไปทีหลัง ซึ่งในความเชื่อของธิเบตถือว่าเป็นทัศนะแบบที่ประเสริฐที่สุด เพราะว่าไม่ได้นึกถึงประโยชน์ของตนเลย และตั้งจิตให้สรรพสัตว์เข้าถึงโพธิญาณก่อน
หัวใจ หลักในการเป็นโพธิสัตว์ คือ มีความกรุณาต่อสรรพสัตว์อย่างไม่จำกัด มีโพธิจิต และตระหนักรู้ในความว่างหรือศูนยตา ดั่งที่จารึกในพระสูตร
เราควรฝึกขันติบารมี เช่น การฝึกละความโกรธ หากเราโกรธใครให้คิดเสียว่า เราเคยทำร้ายเขามาก่อนในอดีต ทั้งนี้ ตามความเชื่อของชาวธิเบตนั้น สรรพสัตว์ทั้งหลายอาจเคยเป็นพ่อแม่ของเรามาก่อนในอดีตชาติ ไม่มีใครเป็นศัตรูเรา หากมีก็เป็นเพราะจิตเราสร้างศัตรูขึ้นมาเอง ถ้าเขาเป็นศัตรูเราจริง ก็คงต้องเป็นชั่วนิรันทร์ แต่อันที่จริงก็เปล่าเลย จิตเราเท่านั้น ที่ปรุงแต่ง เมื่ออายาตนะภายใน กระทบอายาตนะภายนอก และวิญญาณขันธ์ทำงาน
อนึ่ง ชาวธิเบต พูดถึงศีลในสามลักษณะ คือ
๑. ศีลปาติโมกข์
๒. ศีลโพธิสัตว์
๓. ศีลตันตระ
Graceful dying VDO
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น