วันจันทร์ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

บทสนทนาของท่านเมิ่งจื่อกับฉีซวนอ๋อง ตอนที่ II

ภัทรารัตน์ สุวรรณวัฒนา แปล 2005年10月 5号
บทสนทนาของท่านเมิ่งจื่อกับฉีซวนอ๋อง ใน《齐桓晋文之事》
จากเอกสารประกอบการเรียน ภาควิชาภาษาจีน คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์



"เพลา นี้ หากพระองค์บัญชาให้ปกครองโดยยึดหลักเมตตาธรรม ข้าราชการทั้งหลายในแผ่นดินก็ล้วนปรารถนามาอยู่ใต้เบื้องยุคลบาทในราชสำนัก พระองค์ ชาวนาชาวไร่ล้วนปรารถนามาทำการเพาะปลูกในที่นาของพระองค์ พ่อค้าแม่ค้าล้วนอยากนำสินค้ามาสะสมไว้ที่อาณาจักรของพระองค์ นักท่องเที่ยวล้วนปรารถนาจะสัญจรเข้าออกบนเส้นทางของพระองค์ คนในแต่ละอาณาจักรที่ชิงชังผู้ครองอาณาจักรของตนก็ล้วนปรารถนามาอุทธรณ์ ทุกข์กับพระองค์ หากเป็นดั่งนี้แล้ว พระองค์ลองตอบข้าสิว่า ใครจักเป็นผู้ชนะ"

ฉี ซวนอ๋องตรัสว่า "ข้าโฉดเขลาเบาปัญญา ไม่สามารถทำได้ตามที่ท่านว่า ขอท่านได้โปรดสั่งสอนข้าให้กระจ่างด้วยเถิดว่าทำอย่างไรจึงจะสมปรารถนาได้ ถึงแม้นข้ามิได้มีปัญญานัก แต่ก็จะพยายาม"


เมิ่งจื่ อกล่าว "ผู้ไร้ความมั่นคงในสินทรัพย์จะดำเนินชีวิต หากแต่ยังดำรงไว้ซึ่งใจอันงดงามได้ตลอดนั้น เห็นทีจะมีแต่เพียงอริยชนเท่านั้น อันว่าประชาชน เมื่อไม่มีทรัพย์สินที่มั่งคง พวกเขาย่อมมีใจไม่มั่นคง เมื่อไม่มีใจไม่ตั้งมั่นในการประกอบกุศลกรรมแล้ว โดยมากก็สามารถจะฝ่าฝืนข้อบังคับ ทำการต่อต้านแล้วก่อการจลาจลได้โดยง่าย หากรอจนพวกเขาก่อการจลาจล แล้วใช้บทลงโทษรุนแรง เช่นนี้เสมือนเป็นการให้พวกเขารับโทษที่ไม่ได้ก่อ... มีประมุขทรงอำนาจผู้เมตตาองค์ใด กระทำการปรักปรำลงโทษประชาชนได้เยี่ยงนี้?

เพราฉะนั้นประมุขผู้ทรงปัญญา เมื่อออกมาตรการเกี่ยวกับทรัพย์สินของประชาชน ก็ควรคำนึงให้ประชาชนสามารถเลี้ยงดูพ่อแม่ได้ และอย่างน้อยๆ ก็ควรให้เลี้ยงดูภรรยาและบุตรธิดาได้ เมื่อฤดูเก็บเกี่ยวมาถึง ประชาชนจะต้องมีอาหารพอเพียงและมีเสื้อผ้าสวมใส่ หากแม้นป้องกันไม่ให้ [ประชาชน] อดตายได้ การจะให้ประชาชนทำตามกฎหมายก็เป็นเรื่องง่ายดายนัก

แต่ ณ ขณะนี้ พระราชบัญญัติเกี่ยวกับการจัดการทรัพย์สินของประชาชน ไม่สามารถทำให้เขาดูแลพ่อแม่ให้อยู่ดีกินดีได้ ไม่สามารถทำให้ประชาชนเลี้ยงดูครอบครัวได้ แม้แต่ในปีที่ไร้ภัยแล้ง ประชาชนก็ยังต้องดำเนินชีวิตอย่างอดอยากยากแค้น ยิ่งปีใดมีภัยธรรมชาติ ก็ยิ่งเลี่ยงความอดอยากปากแห้งไม่ได้ ขนาดเลี้ยงดูตัวเองยังเอาไม่รอดเช่นนี้แล้ว ประสาอะไรจะให้ประชาชนทำตามชนบประเพณี รักษาสมบัติผู้ดี ถ้าพระองค์มีพระราชดำหริจักปกครองแผ่นดินโดยเมตตาธรรมแล้วไซร้ ใยไม่ปฏิบัติให้แตกต่างจากสิ่งที่ข้าพเจ้ากล่าวข้างต้นเล่า

จงให้ ทุกครัวเรือนที่มีที่อาศัยเป็นเนื้อที่ 5 หมู่(ไร่จีน) ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม ผู้เฒ่าอายุ 50 ปีก็จะมีเสื้อผ้าสวมใส่ เลี้ยงไก่หมูหมาโดยไม่ขวางมันในฤดูผสมพันธุ์ เฒ่าชราอายุ 70 ปี ก็จะมีเนื้อสัตว์กิน แบ่งที่นาให้ครอบครัวต่างๆ ครอบครัวละละ 100 หมู่ อย่าไปแย่งเวลาทำนาของพวกเขา เท่านี้ครอบครัวที่มีจำนวนสมาชิกถึง 8 คน ก็จะไม่อดอยาก ส่งเสริมการศึกษาในสถานศึกษา สั่งสอนบุตรธิดาโดยใช้ความกตัญญูและคุณธรรมความนอบน้อมต่อผู้หลักผู้ใหญ่ เป็นเครื่องมือ ผู้เฒ่าผมแซมขาวก็ไม่ต้องแบกสัมภาระระหกระเหินอยู่ตามถนน

เมื่อผู้เฒ่าอายุ 70 มีเสื้อผ้าสวมใส่ มีเนื้อสัตว์กิน ประชาชนไม่อดอยากเหน็บหนาวเช่นนี้แล้ว มิเป็นมหาราช หามีไม่"

เพิ่มเติม

ท่านเมิ่งจื่อวางนโยบายทางเศรษฐกิจสำหรับอาณาจักร ทั้ง 7 ไว้ดังนี้ ;
(1) ยกเลิกภาษีสินค้าเพื่อให้สินค้านานาชนิดอุดมสมบูรณ์ ข้าวจะได้ถูกลง (โห Free Trade Zone! ^-^)
(2) กำหนดราคาสินค้า เพื่อมิให้พ่อค้าฉวยโอกาสโก่งราคา และให้ประชาชนได้ซื้อเครื่องอุปโภคบริโภคที่ปลอดภาษี
(3) จัดสรรที่ดินทำกินให้แก่ประชาชน
(4) ห้ามมิให้รัฐบาลเกณฑ์แรงราษฎรในฤดูเก็บเกี่ยวพืชผล
(5) สงวนพันธ์สัตว์น้ำ สัตว์บก สงวนป่าไม้ไว้ ไม่ให้คนฆ่าฟัน ขุดโค่นทำลาย
(6) ส่งเสริมให้ทุกครัวเรือนทำสวนครัวและอุตสาหกรรมในครอบครัว
(7) สร้างโรงเรียน อบรมสั่งสอนจริยธรรม และวิชาความรู้แขนงต่างๆแก่ประชาชนทั่วไป

เมิ่งจื่อ ได้วางนโยบายทางเศรษฐกิจสำหรับอาณาจักร ซึ่งแบ่งเป็น 7 หัวข้อใหญ่ ในเรื่องการจัดสรรที่ดินมีเนื้อหาโดยสังเขปคือ ให้รัฐบาลจัดสรรที่ดินทำกินให้กับประชาชน โดยกำหนดบริเวณเนื้อที่ 1 ลี้ แบ่งเป็นนา 900 ไร่ ตรงกลาง 100 ไร่ เป็นนาหลวง ขนัดล้อมด้วยนาอีก 800 ไร่ ซึ่งต้องยกให้แก่ครอบครัว 8 ครอบครัว ครอบครัวละ 100 ไร่ รัฐบาลไม่เก็บภาษีนาของราษฎร ดังนั้นราษฎรเก็บเกี่ยวนาได้เท่าไหร่ก็เป็นสมบัติของราษฎรเจ้าของที่ดิน แต่ราษฎรทั้ง 8 ครอบครัวต้องมาทำงานที่นาหลวงส่งผลได้ในนาหลวงนั้นแก่รัฐบาล

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น